Page 103 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยผังเมืองกับการคุ้มครองสิทธิชุมชนและสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน
P. 103
สำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
3.3 การสรุปข้อเสนอจากการประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อประเด็นผังเมือง
คณะผู้วิจัยได้รวบรวมและสรุปประเด็นผังเมืองจากกรณีศึกษาเบื้องต้นมาทำาการวิเคราะห์ จัดกลุ่ม
ประเด็นปัญหา โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเด็น ได้แก่ ปัญหาด้านกระบวนการ การนำาสาระผังเมืองไปใช้
ในการคุ้มครองสิทธิชุมชนและพิจารณาอนุมัติอนุญาต การนำาสาระของผังเมืองรวมไปจัดทำาข้อบัญญัติ
ท้องถิ่นและการปรับปรุงมาตรฐานการกำาหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินและการจัดทำาข้อกำาหนดให้ทันต่อ
สถานการณ์การพัฒนาที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน จากนั้นจึงนำาเสนอประเด็นปัญหาเหล่านั้น
ในการประชุมระดมความคิดเห็น ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2557 โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิด้าน
ผังเมืองที่มีประสบการณ์ในงานวางผังเมือง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายจากหน่วยงานวางผัง หน่วยงาน
ที่นำาผังเมืองไปสู่การปฏิบัติ และนักกฎหมาย หน่วยงาน องค์กร นักวิชาการ ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับ
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน มาร่วมให้ความคิดเห็นและข้อแนะนำาทางวิชาการทั้งในด้านผังเมือง
กฎหมาย การมีส่วนร่วมของประชาชน และการปฏิบัติตามผังเมือง
จากการประชุมระดมความคิดเห็นดังกล่าว ผู้เข้าร่วมการประชุมได้มีความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
ที่หลากหลาย (รายละเอียดในภาคผนวกที่ 1) คณะผู้วิจัยจึงสรุป ข้อเสนอแนะและนำามาจัดกลุ่มประเด็น
เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับผังเมืองกับการคุ้มครองสิทธิชุมชนและสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังนี้
1) ประเด็นผังเมือง
- ควรสรุปปัญหาและกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นจากกรณีปัญหาที่มีการร้องเรียนให้ชัดเจนว่ามีกี่กรณี
ปัญหา จำานวนกี่เรื่อง เพื่อยืนยันว่าระบบกฎหมายหรือผังเมืองมีปัญหา และจำาเป็นต้องได้รับ
การแก้ไข
- หลังการสรุปประเด็นปัญหาแล้ว ควรทำาข้อเสนอเชิงนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยว่า
กฎหมายการผังเมืองหรือการใช้ประโยชน์ในที่ดิน ต้องวางกรอบการใช้ทรัพยากรอย่างไร
และผู้มีส่วนได้เสียอย่างชุมชนควรจะมีกระบวนการเข้าไปรับรู้การตัดสินใจตั้งแต่แรกได้อย่างไร
- คำาจำากัดความของผังเมืองในปัจจุบันไม่ได้จำากัดอยู่แค่เมือง แต่ต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 85 ที่ไปกำากับดูแลทรัพยากร ผังเมือง คือ เครื่องมือในการ
จัดระเบียบการใช้ทรัพยากรที่จะเอื้อประโยชน์เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน โดยการมีส่วนร่วม
ของประชาชนในท้องถิ่น ผังเมืองจึงเป็นเครื่องมือให้เราจัดการแบ่งปันทรัพยากรให้เกิดประโยชน์
ร่วมกันได้ตามวิถีของประชาธิปไตย
- ควรปรับระดับการมีส่วนร่วมในการจัดทำาผังเมืองให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น
- ต้องแยกข้อกำาหนดออกจากผังเนื่องจากตอนนี้มีปัญหา คือคิดผัง 30 ปีข้างหน้า แต่อายุบังคับใช้ 5 ปี
และข้อกำาหนดไปติดกับผังด้วย เมื่อผัง 5 ปีหมดอายุไปแล้ว การกำาหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ดี
102