Page 16 - สิทธิของบุคคลในครอบครัว กรณีการกล่าวคำสาบานตนก่อนเบิกความเป็นพยานในศาลของแต่ละศาสนามีความแตกต่างกัน
P. 16
กฎ และข้อบังคับ ซึ่งออกตามกฎหมายฝ่ายทหารมาใช้บังคับ ถ้าไม่มีกฎหมาย กฎ และข้อบังคับ
ฝ่ายทหารก็ให้นำาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลม ถ้าวิธีพิจารณา
ข้อใดซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้นำาบทบัญญัติแห่ง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่จะใช้ได้” ซึ่งแนวทางในการกล่าวคำาสาบานตน
ก่อนเบิกความต่อศาลทหารเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๑๒ โดยใน
การกล่าวคำาสาบานจะมี ๒ วิธี คือ ให้พยานกล่าวคำาสาบานตามข้อความที่ติดไว้ภายในคอกพยาน
หรือจ่าศาลหรือเสมียนหน้าบัลลังก์จะนำาพยานกล่าวคำาสาบานตามศาสนาที่ตนนับถือ ดังนี้
๑. ศาสนาพุทธ โดยศาลทหารในกรุงเทพมหานครจะนำาสาบานว่า
“ข้าพเจ้าขอสาบานต่อพระแก้วมรกต (หรือพระพุทธรูปที่ประชาชนนับถือในท้องถิ่นนั้น)
เจ้าพ่อหลักเมือง พระสยามเทวาธิราช และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายว่า ข้าพเจ้าจะเบิกความต่อศาล
ด้วยความสัตย์จริงทั้งสิ้น หากข้าพเจ้าเอาความเท็จมากล่าวแม้แต่น้อย ขอภยันตรายและความวิบัติ
ทั้งปวงจงบังเกิดแก่ข้าพเจ้าและครอบครัวโดยพลัน หากข้าพเจ้ากล่าวความจริงต่อศาล ขอให้ข้าพเจ้า
และครอบครัวจงประสบแต่ความสุขความเจริญ”
ถ้าเป็นศาลทหารในต่างจังหวัด จะนำาสาบานต่อพระพุทธรูปและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่
ประชาชนในท้องถิ่นเคารพนับถือ เช่น ศาลมณฑลทหารบกที่ ๔๑ (จังหวัดนครศรีธรรมราช) ให้สาบานตน
ต่อพระพุทธสิหิงค์และพระบรมธาตุ หรือศาลจังหวัดทหารบกพิษณุโลก (จังหวัดพิษณุโลก) ให้สาบานตน
ต่อพระพุทธชินราช สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ เป็นต้น
๒. ศาสนาอิสลาม
“ข้าพเจ้าขอสาบานต่อพระอัลเลาะห์ว่า ข้าพเจ้าจะเบิกความต่อศาลด้วยความสัตย์จริง
ทั้งสิ้น หากข้าพเจ้านำาความเท็จมากล่าว ขอองค์พระอัลเลาะห์ทรงโปรดลงโทษข้าพเจ้า หากข้าพเจ้า
กล่าวความจริงต่อศาล ขอองค์พระอัลเลาะห์ทรงโปรดตอบแทนข้าพเจ้าด้วยความดีงามทั้งหลายด้วย”
๓. ศาสนาคริสต์
“ข้าพเจ้าขอสาบานตนต่อพระเยซูเจ้าว่า ข้าพเจ้าจะเบิกความต่อศาลด้วยความสัตย์จริง
ทั้งสิ้น หากข้าพเจ้านำาความเท็จมากล่าวแม้แต่น้อย ขอภยันตรายและความวิบัติทั้งปวงจงบังเกิด
แก่ข้าพเจ้าและครอบครัวโดยพลัน หากข้าพเจ้ากล่าวความจริงต่อศาล ขอให้ข้าพเจ้าและครอบครัว
จงประสบแต่ความสุขความเจริญ”
๔. คำาปฏิญาณ
“ข้าพเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอให้คำาสัตย์ปฏิญาณต่อ (ระบุสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่พยานนับถือ) ว่า
ข้าพเจ้าจะให้การเป็นพยานในคดี (ระบุชื่อจำาเลยและข้อหา) ตามความสัตย์จริงทุกประการ”
หากพยานเป็นข้าราชการชั้นสัญญาบัตร แพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ที่มาเป็นล่าม
จะกล่าวคำาปฏิญาณ เนื่องจากบุคคลกลุ่มนี้เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ส่วนพยานอื่นนอกจากนี้
จะกล่าวคำาสาบาน ทั้งในชั้นไต่สวนมูลฟ้องและชั้นพิจารณาคดี เนื่องจากเนื้อหาและถ้อยคำาในการ
กล่าวคำาสาบานมีการกล่าวถึงครอบครัวของผู้สาบาน ซึ่งเท่าที่ผ่านมาในการกล่าวคำาสาบานยังไม่พบ
ประเด็นปัญหาใด โดยภายในศาลจะมีพระพุทธรูปอยู่ภายในห้องและหันหน้ามาทางพยาน
15
สิทธิของบุคคลในครอบครัว กรณีการกล่าวคำาสาบานตนก่อนเบิกความเป็นพยานในศาลของแต่ละศาสนามีความแตกต่างกัน
ทำาให้กระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว ซึ่งเป็นการกระทำาที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐