Page 14 - สิทธิของบุคคลในครอบครัว กรณีการกล่าวคำสาบานตนก่อนเบิกความเป็นพยานในศาลของแต่ละศาสนามีความแตกต่างกัน
P. 14
โดยการกล่าวคำาสาบานหรือการปฏิญาณก่อนเบิกความต่อศาล ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้อง
กับความน่าเชื่อถือของพยาน เมื่อพยานได้สาบานหรือให้คำาปฏิญาณต่อศาลแล้ว ก็อนุมานได้ว่า
พยานมีความน่าเชื่อถือในเบื้องต้น โดยในทางปฏิบัติจะมีการติดข้อความแบบคำาสาบานที่ให้พยาน
กล่าวต่อศาลไว้ภายในคอกพยาน ซึ่งโดยส่วนใหญ่การกล่าวคำาสาบานหรือคำาปฏิญาณจะเป็นไป
ตามแบบตัวอย่างที่ระบุไว้ในคู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ และไม่มีการกล่าวถึงครอบครัว
แต่อย่างใด ส่วนศาลบางแห่งที่ตัวอย่างคำาสาบานอาจจะมีการกล่าวถึงครอบครัวอยู่ เนื่องจากอาจจะ
ยังไม่ได้ปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และคู่มือปฏิบัติราชการ
ของตุลาการ ซึ่งในการกล่าวถึงครอบครัวนั้น เนื่องจากในสมัยโบราณ ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธจะให้
ความสำาคัญกับครอบครัว โดยครอบครัวควรได้รับการเคารพนับถือและได้รับการปกป้อง ฉะนั้น
ถ้าพยานมีความกล้าที่จะกล่าวคำาสาบานโดยก้าวล่วงไปถึงครอบครัว แสดงว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ที่มี
ความน่าเชื่อถือในระดับสูง และเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อของพยานให้มีมากขึ้น ในกรณีที่แบบ
ตัวอย่างคำาสาบานของศาลบางแห่งไม่ได้ใช้ข้อมูลตามที่ระบุไว้ในคู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ
อาจเป็นไปตามความเชื่อของแต่ละท้องถิ่นที่แตกต่างกันออกไป เช่น ศาลจังหวัดชุมพร อาจกล่าวถึง
พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนใน
ท้องถิ่นนั้นให้ความเคารพนับถือ เป็นต้น
จากกรณีตามคำาร้อง การที่ศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์มีการกล่าวถึงครอบครัว
แต่ศาสนาอิสลามไม่มีการกล่าวถึงครอบครัวนั้น โดยศาลเห็นว่า ไม่น่าที่จะเป็นการเลือกปฏิบัติ
โดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องของความเชื่อทางศาสนา เนื่องจาก
แต่ละศาสนาจะมีแนวคิด ความเชื่อ วัฒนธรรม และจารีตประเพณีที่แตกต่างกันออกไป โดยขึ้นอยู่กับ
บริบทของแต่ละศาสนา
ในการกล่าวคำาสาบานหรือคำาปฏิญาณก่อนเบิกความต่อศาล เนื่องจากเป็นบทบัญญัติ
ของกฎหมายที่จะต้องดำาเนินการ และเป็นเรื่องของความน่าเชื่อถือของพยาน ในกรณีที่พยานมีการ
เบิกความแล้วแต่พยานไม่ได้กล่าวคำาสาบานหรือคำาปฏิญาณก่อนเบิกความซึ่งอาจทำาให้กระบวนการ
พิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โดยการเบิกความของพยาน
ในครั้งนั้นจะรับฟังไม่ได้ เนื่องจากพยานไม่ได้กล่าวคำาสาบานหรือคำาปฏิญาณก่อนเบิกความ จึงทำาให้
ไม่มีความน่าเชื่อถือ หากมีกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นถ้าสามารถแก้ไขได้ก็อาจมีการให้แก้ไขโดยการส่งสำานวน
กลับไปที่ศาลชั้นต้นเพื่อเรียกพยานมาเบิกความ โดยให้พยานกล่าวคำาสาบานหรือคำาปฏิญาณก่อน
เบิกความ เมื่อพยานได้กล่าวคำาสาบานหรือคำาปฏิญาณแล้วก็สามารถรับฟังคำาเบิกความของ
พยานได้ แต่ในบางกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขได้ เช่น พยานเสียชีวิตแล้ว ฯลฯ คำาเบิกความของพยานที่
ไม่ได้กล่าวคำาสาบานหรือคำาปฏิญาณในครั้งนั้น ก็ไม่สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ซึ่งจะทำาให้
ขาดพยานหลักฐานในส่วนนี้ แต่ในบางกรณีศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาอาจไม่ส่งสำานวนกลับไปยัง
ศาลชั้นต้นเพื่อดำาเนินกระบวนพิจารณาใหม่ เนื่องจากคำาเบิกความของพยานไม่มีน้ำาหนักในการรับฟัง
เป็นพยานหลักฐาน
13
สิทธิของบุคคลในครอบครัว กรณีการกล่าวคำาสาบานตนก่อนเบิกความเป็นพยานในศาลของแต่ละศาสนามีความแตกต่างกัน
ทำาให้กระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว ซึ่งเป็นการกระทำาที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐