Page 15 - สิทธิของบุคคลในครอบครัว กรณีการกล่าวคำสาบานตนก่อนเบิกความเป็นพยานในศาลของแต่ละศาสนามีความแตกต่างกัน
P. 15
๒) ผู้แทนสำ�นักง�นศ�ลปกครอง ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการกล่าวคำาสาบานตน
ก่อนเบิกความ และรูปแบบตัวอย่างคำาสาบานของศาลปกครอง สรุปได้ดังนี้
แนวทางในการกล่าวคำาสาบานตนก่อนเบิกความต่อศาลปกครองเป็นการปฏิบัติตาม
ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๕๓ ที่ระบุว่า “ก่อนให้ถ้อยคำาต่อศาล คู่กรณีหรือพยานต้องสาบานตนตามลัทธิศาสนาหรือจารีต
ประเพณีแห่งชาติของตน หรือกล่าวคำาปฏิญาณว่าจะให้ถ้อยคำาตามสัตย์จริง”
โดยรูปแบบตัวอย่างคำาสาบานของศาลปกครองมีดังนี้
๑. ศาสนาพุทธ
“ข้าพเจ้าขอสาบานตนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายว่า ข้าพเจ้าจะให้ถ้อยคำาต่อศาล
ด้วยความสัตย์จริงทุกประการ หากข้าพเจ้านำาความเท็จมากล่าว ขอภยันตรายและความวิบัติจงบังเกิด
แก่ข้าพเจ้า”
๒. ศาสนาอิสลาม
“ข้าพเจ้าขอสาบานตนต่อเอกองค์อัลเลาะห์ว่า ข้าพเจ้าจะให้ถ้อยคำาต่อศาลด้วย
ความสัตย์จริงทุกประการ หากข้าพเจ้านำาความเท็จมากล่าว ขอเอกองค์อัลเลาะห์ทรงลงโทษข้าพเจ้า”
๓. ศาสนาคริสต์
“ข้าพเจ้าขอสาบานตนต่อพระคัมภีร์ว่า ข้าพเจ้าจะให้ถ้อยคำาต่อศาลด้วยความสัตย์จริง
ทุกประการ หากข้าพเจ้านำาความเท็จมากล่าว ขอภยันตรายและความวิบัติจงบังเกิดแก่ข้าพเจ้า”
๔. คำาปฏิญาณ
“ข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าจะให้ถ้อยคำาต่อศาลด้วยความสัตย์จริงทุกประการ”
โดยระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการฯ ข้อ ๕๓ วางหลักไว้ว่า คู่กรณีหรือพยานจะ
กล่าวคำาสาบานตนหรือกล่าวคำาปฏิญาณก็ได้ ซึ่งแนวทางเดิมที่วางไว้ คือ หากคู่กรณีหรือพยานที่เป็น
ประชาชน ศาลจะให้กล่าวคำาสาบาน เนื่องจากประชาชนจะไม่มีระเบียบวินัยเป็นบทลงโทษ หากกรณี
ให้การที่เป็นเท็จจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ส่วนคู่กรณีหรือพยานที่เป็นเจ้าหน้าที่
ของรัฐ ซึ่งหากให้การที่เป็นเท็จจะเป็นความผิดตามบทกำาหนดโทษทางวินัย ซึ่งแนวทางปฏิบัติในปัจจุบัน
โดยส่วนใหญ่ศาลจะให้ใช้คำาสาบานกับทุกคน ทั้งนี้ จะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแต่ละศาล
ในทางปฏิบัติศาลปกครองจะมีพนักงานคดีปกครองเป็นผู้ช่วยทำาคดี โดย
พนักงานคดีปกครองจะต้องดำาเนินการตามคู่มือปฏิบัติ ซึ่งมีการระบุให้พนักงานคดีปกครองเป็นผู้ทำา
หน้าที่ในการนำาคู่กรณีหรือพยานกล่าวคำาสาบานตนหรือกล่าวคำาปฏิญาณ โดยตั้งแต่เริ่มจัดตั้ง
ศาลปกครอง เมื่อปี ๒๕๔๕ จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีกรณีที่คู่กรณีหรือพยานคนใดไม่ได้กล่าวคำาสาบานตน
หรือคำาปฏิญาณก่อนเบิกความ
๓) ผู้แทนกรมพระธรรมนูญ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการกล่าวคำาสาบานตน
ก่อนเบิกความ และรูปแบบตัวอย่างคำาสาบานของศาลทหาร สรุปได้ดังนี้
การพิจารณาคดีของกระบวนการยุติธรรมทางทหารเป็นไปตามพระราชบัญญัติ
ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ โดยมาตรา ๔๕ บัญญัติว่า “วิธีพิจารณาความอาญาทหาร ให้นำากฎหมาย
14
สิทธิของบุคคลในครอบครัว กรณีการกล่าวคำาสาบานตนก่อนเบิกความเป็นพยานในศาลของแต่ละศาสนามีความแตกต่างกัน
ทำาให้กระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว ซึ่งเป็นการกระทำาที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐