Page 12 - สิทธิของบุคคลในครอบครัว กรณีการกล่าวคำสาบานตนก่อนเบิกความเป็นพยานในศาลของแต่ละศาสนามีความแตกต่างกัน
P. 12
๒. ก�รพิจ�รณ�คำ�ร้องเรียน
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิด
สิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม และคณะอนุกรรมการด้านคดีสิทธิมนุษยชน
เพื่อเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง และฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรม พิจารณาดำาเนินการ
ประเด็นการตรวจสอบ
๑. การที่ศาลให้พยานสาบานตนก่อนเบิกความ ตามนัยมาตรา ๑๑๒ แห่งประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพ่ง และมาตรา ๑๗๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีถ้อยคำาที่เกี่ยวข้อง
กับครอบครัวของผู้สาบานนั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
มาตรา ๓๕ หรือไม่
๒. คำาสาบานก่อนเบิกความในศาลยุติธรรมของผู้นับถือศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ กับ
ศาสนาอิสลาม ซึ่งมีข้อความแตกต่างกัน เป็นการเลือกปฏิบัติโดยเหตุแห่งความเชื่อทางศาสนา ตามนัย
มาตรา ๓๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ หรือไม่
๓. คำาสั่งศาลชั้นต้นที่เห็นว่า คำาอุทธรณ์ของผู้ร้องมีลักษณะประชดประชันศาล จึงให้ผู้ร้องแก้ไข
และยื่นต่อศาลภายใน ๗ วัน ซึ่งผู้ร้องเห็นว่า ศาลไม่ได้แจ้งเหตุผลว่าคำาอุทธรณ์ของผู้ร้องมีลักษณะ
ประชดประชันอย่างไร เป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่สามารถแก้คำาอุทธรณ์ได้นั้น คำาสั่งดังกล่าวขัดหรือแย้ง
ต่อมาตรา ๔๐ (๒) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ หรือไม่
๓. ก�รดำ�เนินก�รตรวจสอบ
คณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
ได้ดำาเนินการพิจารณาตรวจสอบ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๗ พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และระเบียบ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจสอบการละเมิด
สิทธิมนุษยชน พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยคณะอนุกรรมการฯ ได้รับฟังข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการกล่าว
คำาสาบานตนก่อนเบิกความ และรูปแบบตัวอย่างคำาสาบานของศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร
และเอกสารที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ ดังนี้
๓.๑ คณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่
ไม่เป็นธรรม ได้มีหนังสือเชิญผู้แทนสำานักงานศาลยุติธรรม ผู้แทนสำานักงานศาลปกครอง และผู้แทน
กรมพระธรรมนูญ เข้าร่วมประชุมเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการกล่าวคำาสาบานตนก่อนเบิกความ
และรูปแบบตัวอย่างคำาสาบานของแต่ละศาล ทั้งเอกสารและด้วยวาจา ในการประชุมคณะอนุกรรมการฯ
ครั้งที่ ๑/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๕
๑) ผู้แทนสำ�นักง�นศ�ลยุติธรรม ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการกล่าวคำาสาบาน
ก่อนเบิกความ และรูปแบบตัวอย่างคำาสาบานของศาลยุติธรรม สรุปได้ ดังนี้
11
สิทธิของบุคคลในครอบครัว กรณีการกล่าวคำาสาบานตนก่อนเบิกความเป็นพยานในศาลของแต่ละศาสนามีความแตกต่างกัน
ทำาให้กระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว ซึ่งเป็นการกระทำาที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐