Page 11 - สิทธิของบุคคลในครอบครัว กรณีการกล่าวคำสาบานตนก่อนเบิกความเป็นพยานในศาลของแต่ละศาสนามีความแตกต่างกัน
P. 11

๒)  ศาสนาอิสลาม
                                “ข้าพเจ้าขอสาบานตนต่อพระอัลเลาะห์ว่า  ข้าพเจ้าจะเบิกความต่อศาลด้วยความ

                 สัตย์จริงทั้งสิ้น  หากข้าพเจ้านำาความเท็จมากล่าว ขอองค์พระอัลเลาะห์ทรงโปรดลงโทษข้าพเจ้า
                 หากข้าพเจ้ากล่าวความจริงต่อศาล ขอองค์พระอัลเลาะห์ทรงโปรดตอบแทนข้าพเจ้าด้วยความดีงาม

                 ทั้งหลายด้วย”
                           ๓)  ศาสนาคริสต์

                                “ข้าพเจ้าขอสาบานตนต่อพระเยซูว่า  ข้าพเจ้าจะเบิกความต่อศาลด้วยความสัตย์จริง
                 ทั้งสิ้น  หากข้าพเจ้านำาความเท็จมากล่าวแม้แต่น้อย ขอภยันตรายและความวิบัติทั้งปวงจงบังเกิด

                 แก่ข้าพเจ้าและครอบครัวโดยพลัน  หากข้าพเจ้ากล่าวความจริงต่อศาล ขอให้ข้าพเจ้าและครอบครัว
                 จงประสบแต่ความสุขความเจริญ”

                               ประกอบกับแบบพิมพ์คำากล่าวสาบานก่อนเบิกความของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธกับ
                 ศาสนาอิสลาม มีข้อความที่แตกต่างกัน โดยผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ไม่มีข้อความที่กล่าวถึงครอบครัว

                 ซึ่งผู้ร้องเห็นว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยถือเหตุแห่งความเชื่อทางศาสนา ตามนัยมาตรา ๓๐ ของ
                 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐

                       ๒.  จากคดีดังกล่าวข้างต้น  ศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้อง เนื่องจากคดีของผู้ร้องไม่มีมูล
                 ผู้ร้องจึงได้ยื่นอุทธรณ์  ต่อมา ศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำาอุทธรณ์ของผู้ร้องแล้วเห็นว่า อุทธรณ์ของผู้ร้อง

                 มีถ้อยคำาลักษณะประชดประชันศาล จึงให้ผู้ร้องจัดทำาอุทธรณ์ยื่นมาใหม่ภายใน ๗ วัน  แต่ผู้ร้องไม่ได้
                 จัดทำาอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่ศาลกำาหนด โดยผู้ร้องอ้างว่า ศาลไม่แจ้งเหตุผลว่าอุทธรณ์ของผู้ร้อง

                 มีลักษณะประชดประชันอย่างไร  ผู้ร้องจึงไม่สามารถแก้ไขและยื่นอุทธรณ์ใหม่ได้  ศาลชั้นต้นจึงมี
                 คำาสั่งไม่รับคำาอุทธรณ์ของผู้ร้อง ผู้ร้องได้อุทธรณ์คำาสั่งดังกล่าว และศาลอุทธรณ์ได้ยกคำาร้อง  ต่อมา

                 ผู้ร้องได้ยื่นฎีกาโดยอ้างว่า คำาสั่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ขัดต่อมาตรา ๔๐ (๒) ของรัฐธรรมนูญ
                 แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐  ผู้ร้องเห็นว่า การที่ศาลฎีกามีคำาสั่งว่าคำาสั่งศาลชั้นต้น

                 ที่ไม่รับคำาอุทธรณ์ของผู้ร้อง  และคำาสั่งศาลอุทธรณ์ที่ยกคำาร้องของผู้ร้อง เป็นคำาสั่งที่ชอบแล้วนั้น
                 เป็นไปโดยไม่ชอบ เนื่องจากศาลฎีกาไม่ได้ส่งคำาร้องของผู้ร้องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก่อน

                          ต่อมา เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒  ผู้ร้องได้ยื่นคำาร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอให้
                 พิจารณาวินิจฉัย กรณีศาลแขวงนนทบุรีไม่ส่งเรื่องของผู้ร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในประเด็นที่

                 ผู้ร้องเห็นว่าจำาเลยในคดีหมายเลขดำาที่ ๑๒๓๐/๒๕๕๒ กระทำาความผิดตามมาตรา ๖ มาตรา ๒๗
                 มาตรา ๒๘ มาตรา ๒๑๑ และมาตรา ๒๑๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐

                 และประเด็นที่ศาลชั้นต้นให้ผู้ร้องแก้ไขคำาอุทธรณ์โดยไม่แจ้งเหตุผล  ซึ่งต่อมา เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม
                 ๒๕๕๒  ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำาสั่งไม่รับคำาร้อง เนื่องจากคำาร้องไม่ต้องตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน

                 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๑๒
                       ประเด็นที่ผู้ร้องประสงค์ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตรวจสอบ คือ ขอให้ตรวจสอบ

                 การละเมิดสิทธิมนุษยชน  พร้อมทั้งขอให้เสนอเรื่องและความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง
                 และมีข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมายต่อไป


            10

            สิทธิของบุคคลในครอบครัว กรณีการกล่าวคำาสาบานตนก่อนเบิกความเป็นพยานในศาลของแต่ละศาสนามีความแตกต่างกัน
            ทำาให้กระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว ซึ่งเป็นการกระทำาที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16