Page 213 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 213
โดยนายอําเภอร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดําเนินการจัดทําทะเบียนที่ดินสาธารณประโยชน์
(การออกหนังสือสําคัญสําหรับที่หลวง) ตามแบบที่กระทรวงมหาดไทยกําหนดเสนออธิบดีกรมที่ดิน
อาศัยอํานาจตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 8 ตรี หรือผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติราชการแทน
ตามคําสั่งของอธิบดีกรมที่ดินที่ 853 / 2535 เฉพาะในเขตจังหวัดรับผิดชอบ เว้นที่ชายตลิ่ง ทางบก
ทางนํ้า ลํากระโดง ลํารางสาธารณะ หรือทางระบายนํ้า รวมทั้งที่เรียกชื่ออย่างอื่นในทํานองเดียวกัน
ไม่ต้องจัดทําทะเบียน จัดทํา 4 ชุด เก็บรักษาหลักฐานไว้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1 ชุด อําเภอ
หรือกิ่งอําเภอ 1 ชุด สํานักงานที่ดินจังหวัด 1 ชุด กรมที่ดิน 1 ชุด
ที่ดินที่สามารถออกหนังสือสําคัญสําหรับที่หลวง (น.ส.ล.) ได้แก่
1. ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสําหรับพลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกันตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฯ มาตรา 1304 (2) เช่น ทุ่งเลี้ยงสัตว์สาธารณะ หนองสาธารณะ บึงสาธารณะฯ
(ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสําหรับพลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกันบางลักษณะ
ไม่จําเป็นต้องออกหนังสือสําคัญสําหรับที่หลวง เช่น ถนน แม่นํ้า ลําคลอง ทางรถไฟ เป็นต้น เพราะเป็นที่ดิน
มีสภาพและขอบเขตในตัวเอง ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสําหรับพลเมืองใช้ประโยชน์
ร่วมกันบางลักษณะที่อาจเปลี่ยนขอบเขต หรือเปลี่ยนแปลงรูป ได้เองตามธรรมชาติ เช่น แม่นํ้า
ลําคลองฯ หากออกหนังสําคัญสําหรับที่หลวงจะเป็นการยุ่งยาก ให้เป็นหน้าที่ของอธิบดีกรมที่ดิน
พิจารณาว่า ที่ดินในลักษณะเช่นใดจะสมควรออกหนังสือสําคัญสําหรับที่หลวง)
2. ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสําหรับใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฯ มาตรา 1304 (3) เช่น ที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งสํานักราชการ
้
บ้านเมือง ปอมและโรงทหาร ที่สงวนหวงห้ามหรือขึ้นทะเบียนเป็นของทบวงการเมือง ที่ดินที่รัฐซื้อ
หรือมีผู้อุทิศให้ฯ
(ที่ดินของรัฐที่เป็นทรัพย์สินธรรมดาโดยรัฐถือที่ดินในฐานะอย่างเอกชน ต้องออกเป็นโฉนดที่ดิน
หรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ แล้วแต่กรณี)
ขั้นตอนการออกหนังสือสําคัญสําหรับที่หลวง
1. ทบวงการเมืองผู้มีอํานาจหน้าที่ดูแลรักษาที่สาธารณประโยชน์ ประสงค์จะให้มีหนังสือสําคัญ
สําหรับที่หลวงสําหรับที่ดินแปลงใด
2. นายอําเภอดําเนินการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามคําสั่งกระทรวงมหาดไทย
ที่ 948/2516 หรือทบวงการเมืองอื่นตามอํานาจหน้าที่ดูแลรักษา แสดงความประสงค์โดยการยื่นคําขอ
ออกหนังสือสําคัญสําหรับที่หลวงเป็นหนังสือพร้อมหลักฐานของที่ดินแปลงนั้น ต่ออธิบดีกรมที่ดินหรือ
ผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งปฏิบัติราชการแทนตามคําสั่งของอธิบดีกรมที่ดินที่ 853/2535 ในเขตจังหวัด
รับผิดชอบ
3. ดําเนินการสอบสวนและรังวัดทําแผนที่ตามวิธีการรังวัด เพื่อออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน
4. ประกาศการออกหนังสือสําคัญสําหรับที่หลวงให้ประชาชนทราบ เป็นเวลา 30 วัน
เนื้อหาในประกาศให้มี
4.1 แผนที่แสดงแนวเขตที่ดิน และ
6‐4