Page 212 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 212

6.2 แนวคิดและการปฏิบัติในการสงวนหวงห้ามที่ดินสาธารณประโยชน์
                              รัฐไทยเริ่มระบอบการปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

                       มนุษย์อยู่ในฐานะราษฎรหรือผู้ถูกปกครอง ทรัพย์สินบนแผ่นดินทั้งหมดถือเป็นของพระมหากษัตริย์
                       วิธีการทําให้ที่ดินเป็นที่สาธารณประโยชน์เป็นของพระมหากษัตริย์ด้วยการกําหนดพื้นที่สงวนหวงห้าม

                       อํานาจการสงวนหวงห้ามพื้นที่การใช้ประโยชน์ร่วมกันตกเป็นของพระมหากษัตริย์และผู้ที่ได้รับมอบ
                       พระราชอํานาจกระทําการแทน เช่น ข้าหลวงประจําจังหวัด มณฑล เป็นต้น
                              พุทธศักราช 2457 รัฐไทยตราและบังคับใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457
                       บัญญัติให้สอดคล้องกับระบบการบริหารราชการแผ่นดิน อํานาจการสงวนหวงห้ามที่ดินสําหรับ

                       ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันเป็นของผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอําเภอ โดยออกเป็นประกาศ
                       กระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง

                              ปีพุทธศักราช 2478 หลังคณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
                       เป็นระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข บริหารราชการแผ่นดิน
                       ภายใต้อํานาจรัฐบาลผสม ตราและบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่า

                       อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2478 มีผลให้การสงวนหวงห้ามโดยผู้มีอํานาจ ตั้งแต่วันที่
                       8 เมษายน พ.ศ. 2479 ต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตสงวนหวงห้ามและประกาศใน
                       ราชกิจจานุเบกษา

                              กระทั่งปีพุทธศักราช 2497 รัฐไทยชําระ รวบรวม และประมวล กฎหมายที่ดินทั้งหมดเพื่อง่าย
                       ต่อการบังคับใช้และบริหารจัดการที่ดินภายในประเทศ ตราและบังคับใช้เป็นประมวลกฎหมายที่ดิน
                       เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2497 การสงวนหวงห้ามโดยผู้มีอํานาจ ต้องกระทําโดยมติคณะกรรมการ

                       จัดที่ดินแห่งชาติและประกาศสงวนหวงห้ามในราชกิจจานุเบกษา
                              ฉะนั้น การสงวนหวงห้ามที่สาธารณประโยชน์จึงเริ่มจากความตกลงปลงใจของมนุษย์ อํานาจของ
                       พระมหากษัตริย์และสามช่วงเวลาแห่งการตรากฎหมายบัญญัติอํานาจการสงวนหวงห้าม 1. ประกาศ

                       กระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง ตามอํานาจเห็นควรของนายอําเภอท้องที่หรือข้าหลวงประจําจังหวัด
                       ก่อนวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2479 2. พระราชกฤษฎีกากําหนดเขตสงวนหวงห้ามและประกาศใน
                       ราชกิจจานุเบกษา เมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็น

                       สาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2478 วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2479 และ 3. มติคณะกรรมการจัดที่ดิน
                       แห่งชาติและประกาศสงวนหวงห้ามในราชกิจจานุเบกษา เมื่อบังคับใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน
                       1 ธันวาคม พ.ศ. 2497

                              หลักฐานการสงวนหวงห้ามเริ่มจากบัญชีการสงวนหวงห้าม ทะเบียนสํารวจที่หวงห้าม
                       ประกาศกระทรวงมหาดไทย พระราชกฤษฎีกากําหนดเขตหวงห้าม มติคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ
                                                   ั
                       และประกาศราชกิจจานุเบกษา ปจจุบันจัดระเบียบทะเบียนที่สาธารณประโยชน์ด้วยการออกหนังสือ
                       สําคัญสําหรับที่หลวงเพื่อเป็นหลักฐานให้แก่ทบวงการเมืองผู้มีอํานาจหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินอันเป็น
                       สาธารณสมบัติของแผ่นดิน เพื่อแสดงขอบเขตของที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินและคุ้มครอง
                        ้
                       ปองกันการบุกรุก    และเพื่อประโยชน์ทางนโยบายในการจัดทําทะเบียนที่ดินสาธารณประโยชน์

                                                                                                       6‐3
   207   208   209   210   211   212   213   214   215   216   217