Page 76 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 76
• การพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น เป็นกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการพิสูจน์
ความผิดของจำาเลย โดยการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งจะเริ่มจาก
การไต่สวนมูลฟ้อง การพิจารณา การรับฟังพยานหลักฐาน การนำาพยาน
เข้าสืบ และการสั่งหรือการพิพากษาของศาล
• การอุทธรณ์และฎีกา เป็นกระบวนการพิจารณาโดยศาลสูง เมื่อโจทก์
หรือจำาเลยไม่เห็นด้วยกับคำาพิพากษาของศาลชั้นต้นก็สามารถคัดค้าน
ต่อศาลสูงกว่า คือ ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกาได้ (ดู Appeal,
Court of Appeal, Dika Court)
• การบังคับตามคำาพิพากษา การอภัยโทษ การลดโทษ และการปล่อยตัว
จำาเลย หรือนักโทษ
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีความสำาคัญอย่างมากต่อการคุ้มครอง
สิทธิเสรีภาพของบุคคล หลักการต่างๆ ในกฎหมายนี้อยู่บนพื้นฐานของกติกา
ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เช่น หลักเกณฑ์
เรื่องการจับ การแจ้งข้อหา การกระทำาผิด ระยะเวลาในการควบคุมตัว
สิทธิที่จะมีทนายความ สิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์
สิทธิที่จะไม่ให้การเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง เป็นต้น
คำาที่เกี่ยวข้อง CIVIL LAW, CRIMINAL LAW
เคอร์ฟิว / การห้ามออกจากเคหสถาน
CURFEW ในเวลาที่กำาหนด
คำาสั่งของรัฐบาลให้ประชาชนกลับเคหสถานก่อนเวลาที่ได้กำาหนด
หรือห้ามออกจากเคหสถานในช่วงเวลาที่กำาหนด ซึ่งมักเป็นเวลากลางคืน
และมักใช้ภายหลังมีการประกาศภาวะฉุกเฉิน (ดู STATE OF EMERGENCY)
คำาว่า “CURFEW” หรือ “เคอร์ฟิว” มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า COUVRE
FEU แปลว่า “ดับไฟ” (COUVRE = ดับ, FEU = ไฟ)
โดยทั่วไป การใช้ เคอร์ฟิว / การห้ามออกจากเคหสถานในเวลาที่กำาหนด
มักทำาพร้อมกับการจำากัดหรือการห้ามการชุมนุม จะทำาในระหว่างที่มีการประกาศ
สถานการณ์ฉุกเฉินที่กำาหนดขึ้น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย อันเนื่องมาจาก
65