Page 73 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 73

ประเทศไทย  ได้มีพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่า
            ทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำาเลยในคดีอาญา  พ.ศ.  2544  (ค.ศ.  2001)
            ซึ่งพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้นิยามคำาว่า “ผู้เสียหาย” ไว้อย่างแคบ หมายถึง
            “บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายถึงแก่ชีวิต หรือร่างกาย หรือจิตใจ เนื่องจาก
            การกระทำาความผิดอาญาของบุคคลอื่น  โดยที่ตนมิได้มีส่วนเกี่ยวข้อง
            กับความผิดนั้น”

                  ตามความหมายนี้  เหยื่ออาชญากรรมที่ได้รับความเสียหายทางด้าน
            ทรัพย์สิน  เช่น  การฉ้อโกง  ลักทรัพย์  หรือความเสียหายต่อเสรีภาพ  เช่น
            การข่มขู่  หรือลักตัวไปเรียกค่าไถ่  หรือถูกเหยียดหยามเรื่องสีผิว  จึงไม่อยู่
            ในฐานะเป็นผู้เสียหายที่จะได้รับค่าตอบแทน


              CRIMINAL DIVISION OF
             THE SUPREME COURT FOR                 แผนกคดีอาญา
              THE PERSON HOLDING                 ของผู้ดำารงตำาแหน่ง
             POLITICAL POSITIONS, THE          ทางการเมืองในศาลฎีกา

                  แผนกงานคดีแผนกหนึ่งของศาลฎีกา  จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ
            แห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช 2540 (ค.ศ. 1997) มีอำานาจหน้าที่พิจารณา
            พิพากษาคดีผู้ดำารงตำาแหน่งทางการเมืองที่ถูกกล่าวหาว่าร่ำารวยผิดปกติ
            อันเกิดจากการกระทำาความผิดต่อตำาแหน่งหน้าที่ตามกฎหมายอาญา
            หรือกระทำาความผิดต่อตำาแหน่งหน้าที่โดยทุจริต  รวมถึงบุคคลอื่นที่เป็น
            ตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนในความผิดดังกล่าวด้วย

                  องค์คณะผู้พิพากษาในแผนกนี้ประกอบด้วย  ผู้พิพากษาศาลฎีกา
            จำานวนเก้าคน  ที่คัดเลือกสำาหรับแต่ละคดีโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา
            การพิจารณาคดีจะเป็นแบบไต่สวน ซึ่งแตกต่างจากวิธีพิจารณาคดีอาญาทั่วไป
            ศาลจะยึดถือสำานวนการสอบสวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม
            การทุจริตแห่งชาติเป็นหลัก  ในการพิจารณา  ผู้พิพากษาที่พิจารณาในคดี
            ทุกคนจะต้องทำาความเห็นในการวินิจฉัยเป็นหนังสือ  พร้อมทั้งต้องแถลง
            ด้วยวาจาในการประชุมก่อนการลงมติ




         62
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78