Page 74 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 74
แผนกคดีอาญาของผู้ดำารงตำาแหน่งทางการเมืองเป็นศาลสูง คำาสั่ง
และคำาพิพากษาของศาลฯ เป็นที่สุด เว้นแต่มีพยานหลักฐานใหม่ที่อาจยื่น
อุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้ภายในสามสิบวันนับแต่มีคำาพิพากษา
อนึ่ง ผู้ดำารงตำาแหน่งทางการเมือง หมายถึง นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือข้าราชการการเมืองอื่น
คำาที่เกี่ยวข้อง ADMINISTRATIVE COURT, COURT OF JUSTICE,
CONSTITUTIONAL COURT, CRIMINAL COURT
CRIMINAL LAW, PENAL LAW กฎหมายอาญา
กฎหรือเกณฑ์ที่มีสภาพบังคับเพื่อควบคุมความประพฤติของบุคคล
ในการอยู่ร่วมกันในสังคม ผู้ฝ่าฝืนจะได้รับโทษอาญา
กฎหมายอาญามีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาผลประโยชน์ของสังคมโดยรวม
ซึ่งต่างจากกฎหมายแพ่งที่เป็นเกณฑ์ที่กำาหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชน
สภาพบังคับของกฎหมายอาญาคือ “โทษ” ส่วนสภาพบังคับของกฎหมาย
แพ่งเน้นที่การชำาระหนี้
ทางทฤษฎีความผิดอาญาแบ่งเป็นสองประเภท คือความผิดที่มีความชั่ว
ร้ายอยู่ในตัวเอง (mala in se) และความผิดที่เกิดจากการฝ่าฝืนข้อกำาหนด
(mala prohibita)
ตามแนวคิดของนักกฎหมายมหาชน อาชญากรรมเป็นการกระทำา
ความผิดต่อรัฏฐาธิปัตย์อันเป็นการละเมิดต่อรัฐ เพราะกฎหมายอาญา
กำาหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับปัจเจกชน เป็นเสมือนพันธสัญญาระหว่าง
รัฐกับปัจเจกชน โดยรัฐบัญญัติให้ปัจเจกชนมีหน้าที่กระทำาการ หรืองดเว้น
กระทำาการใด เมื่อปัจเจกชนกระทำาการที่ขัดต่อกฎหมายอาญาจึงเป็นการ
ละเมิดต่อรัฐ แม้ว่าในความผิดบางอย่างมีผู้เสียหายอื่น เช่น ความผิด
ฐานฆ่าคน ทำาร้ายร่างกาย ลักทรัพย์ และหมิ่นประมาท เป็นต้น ก็ยังถือว่า
รัฐเป็นผู้เสียหาย ดังนั้น เมื่อมีการกระทำาความผิดอาญา นอกจากบุคคล
ที่เป็นผู้เสียหายจริงมีอำานาจฟ้องแล้ว กฎหมายยังกำาหนดให้อัยการมีอำานาจฟ้อง
ซึ่งเป็นการฟ้องแทนสาธารณชนในฐานะที่เป็นผู้เสียหาย
63