Page 71 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 71
ในระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law) เช่น ประเทศไทย สิทธิเสรีภาพ
ขั้นพื้นฐานจะถูกรับรองไว้โดยรัฐธรรมนูญและกฎหมายลำาดับรอง การตีความ
กฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของบุคคลจึงมีความสัมพันธ์กับความเข้าใจ
ของผู้พิพากษาที่ตีความเนื้อหาสาระและขอบเขตของสิทธิมนุษยชนอย่างมาก
เป็นต้น
อนึ่ง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คำาว่าศาลยุติธรรม
หมายความรวมถึง ศาลปกครอง และศาลทหารด้วย
คำาที่เกี่ยวข้อง ADMINISTRATIVE COURT, CRIMINAL COURT,
CONSTITUTIONAL COURT, COURT MARTIAL
CRIME OF AGGRESSION อาชญากรรมการรุกราน
ความผิดอาญาระหว่างประเทศร้ายแรงประเภทหนึ่งที่นับเป็นความผิด
สำาคัญอยู่ในอำานาจดำาเนินคดีของศาลอาญาระหว่างประเทศ (ดู Core Crimes)
เนื่องจากในการร่างธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ
ใน ค.ศ. 1998 (พ.ศ. 2541) ประเทศต่าง ๆ ไม่สามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับ
คำานิยามของคำาว่า อาชญากรรมการรุกรานได้ ศาลอาญาระหว่างประเทศ
จึงยังไม่มีอำานาจพิจารณาได้ ต่อมาใน ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) ที่ประชุม
สมัชชารัฐภาคีศาลอาญาระหว่างประเทศ มีขึ้น ณ กรุงคัมพาลา ประเทศ
ยูกันดา ได้รับรองคำานิยามคำาว่า อาชญากรรมการรุกราน ในบทบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมธรรมนูญแห่งกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ มาตรา
8 ทวิ
ตามธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ คำาว่า
“อาชญากรรมการรุกราน” หมายถึง การวางแผน การตระเตรียมการ การริเริ่ม
หรือการดำาเนินการกระทำาโดยบุคคลซึ่งอยู่ในตำาแหน่งที่ใช้อำานาจอย่างแท้จริง
ในการควบคุมทางการเมืองหรือทางทหารของรัฐ ในการรุกรานอันเป็น
การกระทำาที่มีลักษณะการกระทำาและความรุนแรงขัดต่อกฎบัตรสหประชาชาติ
อย่างชัดแจ้ง
60