Page 67 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 67
CONTRACTUAL RIGHTS สิทธิตามสัญญา
ประโยชน์ อำานาจกระทำาการ ความคุ้มกัน ของบุคคลที่เกิดจาก
ความยินยอมตกลงกันระหว่างบุคคล
ในทางทฤษฎีสังคมการเมือง มนุษย์ทุกคนมีเสรีภาพในการคิด ตัดสินใจ
ที่จะทำาสัญญาผูกพันระหว่างกันในการที่จะแลกเปลี่ยนประโยชน์ หรือสิทธิ
ของบุคคลรวมทั้งสิทธิในทรัพย์ ที่ตนเองมีอยู่ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับตนเอง
มากที่สุด เสรีภาพในการทำาสัญญาจึงเป็นช่องทางในการทำาให้บุคคลได้บรรลุ
ความต้องการของตนเอง ตัวอย่างเช่น บางคนมีเงินทุนแต่ขาดแรงงาน ในขณะที่
บุคคลอีกคนหนึ่งมีแรงงานแต่ขาดเงินทุน ดังนั้นบุคคลทั้งสองคนจึงตกลง
ทำาสัญญาแลกเปลี่ยนประโยชน์ระหว่างค่าจ้างกับแรงงานกัน เจ้าของเงินทุน
ก็จะได้แรงงานบุคคลที่เป็นเจ้าของแรงงานก็ได้ค่าจ้างจากการทำางาน
เมื่อบุคคลตัดสินใจตกลงทำาสัญญาแล้วก็จะเกิดสิทธิและหน้าที่ต่อกัน สิทธินี้
จึงเกิดจากสัญญาอันต่างจากสิทธิตามกฎหมายซึ่งเป็นสิทธิที่รัฐรับรอง
สิทธินั้น โดยการออกกฎหมายเป็นการกำาหนดสิทธิและหน้าที่โดยรัฐ
มิใช่โดยความสมัครใจของบุคคลสิทธิตามสัญญา และเสรีภาพในการทำา
สัญญาได้รับการรับรองไว้ในกฎหมายทุกระบบ แม้แต่ในระบบสังคม
นิยม
โดยที่บุคคลอาจมีอำานาจต่อรองไม่เท่ากัน กฎหมายจึงอาจเข้ามา
แทรกแซงเสรีภาพในการทำาสัญญาของบุคคล เพื่อรักษาคุณค่าบางประการ
ของสังคม เช่น ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของสังคม ความมั่นคง
ทางเศรษฐกิจและการเมือง เป็นต้น การแทรกแซงของรัฐโดยกฎหมาย
ก่อให้เกิดสิทธิตามกฎหมายขึ้น สิทธินี้เรียกว่า “สิทธิตามกฎหมายบัญญัติ”
(ดู STATUTORY RIGHTS) ซึ่งมีความหมายตรงกันข้ามกับสิทธิ
ตามสัญญา
56