Page 65 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 65
CONSTITUTIONAL COURT ศาลรัฐธรรมนูญ
สถาบันทางการเมืองที่มีอำานาจหน้าที่วินิจฉัยความชอบด้วยกฎหมาย
และความชอบธรรมของกฎหมาย เพื่อไม่ให้กฎหมายลำาดับรองขัด หรือแย้ง
กับรัฐธรรมนูญอันเป็นกรอบในการปกครองประเทศ ในระบบนิติรัฐสิทธิเสรีภาพ
ขั้นพื้นฐานของประชาชนได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญ
จะมีบทบาทสำาคัญในการควบคุมไม่ให้กฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ
หรือฝ่ายบริหาร ขัดกับบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิของบุคคล
บางประเทศ เช่น ประเทศอังกฤษให้อำานาจศาลยุติธรรม (Court of Justice)
พิจารณาวินิจฉัยความสอดคล้องของกฎหมายต่อรัฐธรรมนูญ รวมทั้งคดี
เกี่ยวกับการบริหารราชการหรือคดีปกครอง
กฎหมายได้กำาหนดเงื่อนไขการนำาคดีขึ้นสู่ศาลรัฐธรรมนูญไว้อย่างจำากัด
เช่น การกำาหนดองค์กรที่สามารถนำาคดีขึ้นสู่ศาลไว้เป็นการเฉพาะ เพื่อไม่
ให้ซ้ำาซ้อนกับอำานาจพิจารณาคดีของศาลยุติธรรมและศาลปกครอง เป็นต้น
บางประเทศบุคคลสามารถนำาคดีขึ้นสู่ศาลได้โดยตรง
ศาลรัฐธรรมนูญของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 (ค.ศ. 1997) และได้เริ่มดำาเนินการ
เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) ผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญ
เรียกว่า “ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ” มีจำานวนเก้าคน ที่มาจากการคัดเลือก
โดยการลงคะแนนเสียงของวุฒิสภา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอยู่ในตำาแหน่ง
ได้เพียงวาระเดียว โดยมีระยะเวลาเก้าปี
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (ค.ศ. 2007)
กำาหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำานาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยข้อกฎหมาย
ในเรื่องต่อไปนี้
• ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย ร่างกฎหมาย หรือเงื่อนไข
ของการออกกฎหมาย
• สมาชิกภาพของสมาชิกรัฐสภา ในเรื่องการมีส่วนได้เสียโดยตรง
หรือโดยอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่าย
54