Page 62 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 62
COMPULSORY แรงงานภาคบังคับ /
LABOUR การเกณฑ์แรงงาน
งานหรือบริการทุกชนิดที่บุคคลทำาไป เนื่องจากถูกบีบบังคับ โดยการใช้
บทลงโทษและบุคคลนั้นไม่สมัครใจทำางานหรือให้บริการนั้น
การเกณฑ์แรงงานหรือแรงงานภาคบังคับขัดต่อมาตรฐานแรงงาน
ระหว่างประเทศ ตามอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 29
ว่าด้วยการเกณฑ์แรงงานหรือแรงงานภาคบังคับ พ.ศ. 2473 (ILO Convention
(No. 29) Concerning Forced or CompulsoryLabour 1930) ที่ถือว่า
เป็นอนุสัญญาหลักขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ดู ILO CORE
CONVENTIONS) ได้กำาหนดให้ประเทศภาคีดำาเนินการยกเลิกการใช้แรงงาน
บังคับหรือเกณฑ์แรงงานทุกรูปแบบ ทั้งในภาคธุรกิจเอกชนและกิจการของรัฐ
โดยห้ามใช้มาตรการใดที่เป็นการขู่เข็ญ ลงโทษทางกฎหมาย หรือมาตรการ
ทางวินัย เพื่อให้บุคคลจะต้องทำางานหรือบริการใด ๆ โดยไม่สมัครใจ
อนึ่ง คำาว่า “การบีบบังคับโดยใช้บทลงโทษ” ภายใต้อนุสัญญาฉบับนี้
ไม่ได้หมายความเฉพาะแต่โทษทางอาญาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการสูญเสีย
สิทธิประโยชน์ตามกฎหมายมหาชน ทางวินัย และสิทธิทางแพ่งด้วย เช่น
สวัสดิการและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการทำางาน เช่น การที่นายจ้าง
บังคับให้ลูกจ้างทำางานล่วงเวลา มิฉะนั้นจะถูกตัดสวัสดิการที่เคยได้รับ หรือ
ถูกหักเงินเดือน หรือถูกลดตำาแหน่ง เป็นต้น
อนุสัญญาฯ ได้ยกเว้นงานหรือบริการบางประเภทที่สามารถทำาได้
โดยไม่ถือว่าเป็นการเกณฑ์แรงงาน เช่น
• งานหรือการบริการใด ๆ อันมีลักษณะทางทหารอย่างแท้จริง
ภายใต้กฎหมายเกี่ยวกับการเกณฑ์ทหาร ซึ่งเป็นงานเกี่ยวกับ
การป้องกันประเทศ
• งานหรือการบริการใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่พลเมืองทั่วไป
ของประเทศ เช่น การเกณฑ์แรงงานสร้างถนน ขุดคลองส่งน้ำา
ปลูกป่า เป็นต้น ซึ่งเป็นงานเกี่ยวกับสาธารณูปโภคของรัฐ ไม่ใช่
เพื่อประโยชน์ของธุรกิจ สมาคม หรือนายจ้างใด ๆ
51