Page 64 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 64
CONFESSION การรับสารภาพ
ถ้อยคำา ข้อความ คำาพูด หรือ การเขียนของผู้ต้องหา หรือจำาเลยที่ทำา
โดยสมัครใจ เพื่อแสดงการยอมรับว่า ได้กระทำาผิด หรือเกี่ยวข้องกับการกระทำา
ความผิด ตามที่เจ้าพนักงานสอบสวนตั้งข้อหา หรือซึ่งถูกดำาเนินคดีอาญา
คำารับสารภาพของจำาเลยในชั้นสอบสวนแต่เพียงอย่างเดียวไม่เป็นเหตุให้
ศาลพิพากษาลงโทษจำาเลยได้ แต่ศาลจะต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่า
จำาเลยได้กระทำาผิดจริง (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227
วรรคหนึ่ง) เช่น ประจักษ์พยานที่รู้เห็นเหตุการณ์พยานแวดล้อมที่ใกล้ชิด
กับเหตุการณ์ พยานเอกสาร พยานวัตถุ พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์
หรือพยานผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น ถ้าพยานโจทก์ไม่มีน้ำาหนักเพียงพอ จำาเลย
สามารถหักล้างพยานโจทก์ได้ หรือหากเป็นที่เชื่อว่า จำาเลยไม่ได้กระทำา
ความผิด ศาลจะพิพากษายกฟ้องและปล่อยจำาเลยไป
ในคดีอาญาจำาเลยมีสิทธิที่จะไม่ให้การใด ๆ และแม้ว่าจำาเลยจะรับสารภาพ
ในชั้นสอบสวน แต่จำาเลยมีสิทธิกลับคำาให้การในการเบิกความในชั้นศาลได้
เพราะถือว่าเป็นสิทธิของจำาเลยที่จะไม่ให้การปรักปรำาตนเอง
การที่จำาเลยรับสารภาพมาตั้งแต่ชั้นสอบสวน อาจเป็นเหตุให้ศาลลดหย่อน
โทษได้ ถ้าการสารภาพนั้นเป็นเพราะจำาเลยได้สำานึกผิดในการกระทำาและเป็น
ประโยชน์ในการพิจารณาคดี แต่ถ้าการรับสารภาพนั้นไม่ได้เกิดจากความสมัครใจ
แต่สารภาพเพราะจำาเลยจำานนด้วยพยานหลักฐานก็ไม่เป็นผลดีกับจำาเลย
ในการที่จะได้รับการลดหย่อนโทษ
ถ้าการรับสารภาพนั้นได้กระทำาลงด้วยความไม่สมัครใจอันเป็นผลจากการ
กระทำาอันไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น การบังคับขู่เข็ญ หรือเกิดจากการทรมาน
หรือเกิดจากการถูกล่อลวงจากพนักงานสอบสวนว่าจะได้ประโยชน์จากคดี
(เช่น จะได้รับการยกเว้นโทษ) เป็นต้น เช่นนี้ย่อมไม่ใช่คำารับสารภาพ ถือว่า
จำาเลยไม่ได้ให้การใดในเรื่องที่สารภาพเลย และศาลจะใช้คำาให้การนั้น
เป็นพยานหลักฐานไม่ได้
คำาที่เกี่ยวข้อง THE RIGHT TO SILENCE, THE ACCUSED,
DEFENDANT, INTERROGATION
53