Page 61 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 61
แม้ว่าไม่มีสงครามสู้รบจริงระหว่างมหาอำานาจที่เป็นประเทศใหญ่
แต่สงครามระหว่างประเทศมักเกิดขึ้นกับประเทศที่เป็นสมาชิกของกลุ่ม
เช่น สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม เป็นต้น สงครามเหล่านี้จึงเป็นสงคราม
ตัวแทน (Proxy Wars) นอกจากนั้น สงครามเย็นยังทำาให้เกิดความขัดแย้งกัน
โดยใช้อาวุธภายในประเทศที่เป็นผลจากการที่ประเทศมหาอำานาจสนับสนุน
กลุ่มต่อต้านรัฐบาล
สงครามเย็นก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนหลายรูปแบบ เช่น
การใช้นโยบายชาตินิยม การใช้ลัทธิทหารเพื่อต่อต้านอุดมการณ์ทาง
การเมือง มีการกวาดล้าง หรือรังควานบุคคลที่เห็นว่าเป็นปฏิปักษ์
ต่ออุดมการณ์ของชาติ การใช้การโฆษณาชวนเชื่อและการปิดกั้น
การแสดงความคิดเห็นของประชาชน รวมทั้งการขาดความมั่นคงปลอดภัย
ในชีวิตร่างกายเนื่องจากสภาวะการสู้รบระหว่างกลุ่ม เป็นต้น
COMPLAINT คำาร้องทุกข์ (วิธีพิจารณาความอาญา)
ถ้อยคำาหรือเอกสารที่ผู้เสียหายได้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ที่มีอำานาจ
รับคำาร้องทุกข์ โดยกล่าวหาว่า มีการกระทำาความผิดขึ้นและทำาให้เกิด
ความเสียหายแก่ผู้เสียหาย การกล่าวหานั้นไม่ว่าจะรู้ตัวผู้กระทำาความผิด
หรือไม่ก็ตาม แต่จะต้องมีเจตนาให้ดำาเนินการเพื่อลงโทษแก่ผู้กระทำาความผิด
ในกฎหมายอาญา คำาร้องทุกข์เป็นจุดเริ่มต้นกระบวนการพิจารณา
ความอาญาประการหนึ่ง เมื่อเจ้าพนักงานที่มีอำานาจรับเรื่องร้องทุกข์
ได้รับคำาร้องทุกข์แล้ว ก็จะทำาการสอบสวนหาคนผิดมาดำาเนินคดีต่อไป
บุคคลที่ทำาคำาร้องทุกข์อันเป็นเท็จว่าได้รับความเสียหายจากการกระทำา
ความผิดทางอาญา โดยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีการกระทำาความผิดเกิดขึ้น มีความผิด
อาญาฐานแจ้งความเท็จ
คำานี้ในกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ หมายถึง การร้องเรียน
หรือคำาร้องเรียน ที่รัฐหรือเอกชนทำาขึ้นอย่างเป็นทางการเพื่อเสนอต่อองค์กร
หรือหน่วยงานระหว่างประเทศกล่าวหาว่า รัฐกระทำาการละเมิดสิทธิมนุษยชน
(ดู COMPLAINT ในความหมายของกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ)
50