Page 58 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 58
เสรีภาพเหล่านั้นถูกจำากัดได้อย่างสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ อันเป็นการสร้าง
ความสมดุลระหว่างการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคล ในขณะเดียวกัน
ก็เป็นการคุ้มครองป้องกันภยันตรายของสังคม หรือของบุคคลอื่นที่อาจเกิด
จากการใช้เสรีภาพดังกล่าว ทั้งนี้เนื่องจากประเทศสหรัฐอเมริกาใช้กฎหมาย
คอมมอนลอว์ (กฎหมายที่ไม่ได้บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร) ในขณะที่มี
รัฐธรรมนูญซึ่งได้รับรองเสรีภาพไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
ตามแนวคิดดังกล่าวแม้ว่าเสรีภาพเหล่านั้นจะได้รับการรับรอง
โดยรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาตามบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทที่หนึ่ง (ดู
The First Amendment) แต่มิได้เป็นเสรีภาพที่สมบูรณ์ เสรีภาพเหล่านั้น
มีข้อจำากัดในตัวเอง (Inherent Limitation) เงื่อนไขสำาคัญของหลักการนั้น
คือ เป็นที่เห็นได้ชัดแจ้ง (Clear) ว่าการใช้เสรีภาพเหล่านั้นก่อ หรือนำามา
ซึ่งภยันตราย (Danger) ความเสื่อมเสีย หรือทำาให้เกิดความเสียหายต่อสังคม
ประชาธิปไตย และภยันตรายนั้นล่อแหลม หรือกำาลังจะเกิดขึ้น (Imminent)
หรือยังมีอยู่ยังไม่หมดสิ้นไป
ในประเทศที่ใช้ระบอบซีวิลลอว์ หรือระบบประมวลกฎหมาย การจำากัด
เสรีภาพมักจะกระทำาโดยรัฐธรรมนูญเอง เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย
พุทธศักราช 2550 มาตรา 29 ซึ่งบัญญัติว่า “การจำากัดสิทธิและเสรีภาพ
ของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้จะกระทำามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำานาจ
ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำาหนดไว้
และเท่าที่จำาเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระสำาคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้น
มิได้” เป็นต้น
CODE OF CONDUCT ประมวลวิธีปฏิบัติของ
FOR LAW ENFORCEMENT เจ้าหน้าที่ที่มีอำานาจหน้าที่
OFFICIALS 1979 ในการบังคับใช้กฎหมาย
เอกสารทางกฎหมายที่จัดทำาขึ้นโดยสหประชาชาติอันเป็นการรวบรวม
หลักการเกี่ยวกับการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ที่มีอำานาจหน้าที่ในการบังคับใช้
กฎหมาย เช่น ตำารวจ ทหาร เจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคง เป็นต้น เพื่อให้
การปฏิบัติดังกล่าวสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
47