Page 15 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 15
ACQUITTAL คำาพิพากษาให้ยกฟ้องปล่อยตัวจำาเลยไป
คำาวินิจฉัยของศาลที่มีขึ้นเพื่อตัดสินว่าจำาเลยไม่ได้กระทำาผิดอาญา
ตามฟ้อง และให้จำาเลยพ้นจากความรับผิดอาญา ดังนั้นถ้าจำาเลยถูกกักขัง
อยู่ ศาลก็จะมีคำาพิพากษาให้ปล่อยตัวจำาเลย
ในระบบวิธีพิจารณาความของประเทศไทย คำาพิพากษาให้ปล่อยตัวจำาเลย
จะทำาโดยผู้พิพากษาโดยจะมีพร้อมกับคำาตัดสินที่ชี้ว่าจำาเลยไม่ผิด ส่วนในระบบ
คอมมอนลอว์ที่ใช้ระบบคณะลูกขุน (Jury) การตัดสินการกระทำาของจำาเลยว่า
“ผิด” หรือ “ไม่ผิด” จะทำาโดยคณะลูกขุน และศาลจะเป็นผู้ทำาคำาพิพากษา
ให้ปล่อยตัวจำาเลย
ในทางกฎหมาย คำาพิพากษาให้ปล่อยตัวจำาเลยมีความสำาคัญ
เพราะถือว่าศาลได้พิจารณาแล้วว่าการกระทำาของจำาเลยไม่เป็นความผิด
ดังนั้นจำาเลยจะถูกดำาเนินคดีในการกระทำาเดียวกันนั้นไม่ได้อีก
คำาที่เกี่ยวข้อง RELEASE ORDER, VERDICT
ACT พระราชบัญญัติ / รัฐบัญญัติ
กฎหมายที่ออกโดยรัฐสภามีฐานะหรือศักดิ์ของกฎหมาย (Hierarchy
of Law) สูงกว่ากฎหมายอื่นนอกจากรัฐธรรมนูญ
กฎหมายที่มีชื่อเรียกว่า “พระราชบัญญัติ” จะเป็นกฎหมายสำาคัญ
มีวัตถุประสงค์ให้มีผลบังคับใช้กับประชาชนเป็นการทั่วไป ซึ่งต่างจาก
กฎหมายประเภทอื่น เช่น พระราชกำาหนด ซึ่งตราขึ้นโดยคณะรัฐมนตรี
เพื่อบริหารราชการในสถานการณ์อันจำาเป็นเร่งด่วน (ดู EMERGENCY
DECREE) หรือพระราชกฤษฎีกา ซึ่งเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยประมุข
ของรัฐที่เกี่ยวกับระเบียบวิธีปฏิบัติในการเปิดหรือปิดสมัยการประชุมสภา
ผู้แทนราษฎร กฎหมายที่ตราขึ้นและมีผลกระทบในการจำากัดสิทธิเสรีภาพ
ของบุคคล จึงต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ เพื่อให้มีการอภิปรายและลงมติ
โดยสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งถือว่าเป็นสถาบันที่ประชาชนได้รับมอบอำานาจให้
เพื่อการปกป้องสิทธิประโยชน์ของประชาชน (ดู UNIVERSAL SUFFRAGE)
4