Page 14 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 14
ACCUSED, THE 1. ผู้ต้องหา
2. จำาเลย (ในคดีอาญา)
1. ผู้ต้องหา บุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำาผิดอาญาโดยเจ้าพนักงาน
ได้แจ้งข้อหาแห่งการกระทำาผิดต่อบุคคลนั้นแล้วแต่ยังมิได้
ฟ้องต่อศาล กฎหมายกำาหนดว่าในกรณีที่มิใช่กระทำาผิดซึ่งหน้า
เจ้าพนักงานสอบสวนต้องออกหมายเรียกหรือหมายจับบุคคล
ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำาความผิดเพื่อทำาการสอบสวน โดยต้อง
มีพยานหลักฐานเชื่อได้ว่าบุคคลนั้นกระทำาผิดก่อนแจ้งข้อหา
เมื่อผู้ต้องหาถูกฟ้องต่อศาลแล้วก็จะเปลี่ยนสถานะทางกฎหมาย
เป็น “จำาเลย”
2. จำาเลย บุคคลที่ถูกฟ้องต่อศาลว่ากระทำาความผิดอาญาไม่ว่า
การฟ้องนั้นจะทำาโดยบุคคลธรรมดา หรือรัฐ (โดยอัยการ)
ผู้ต้องหาหรือจำาเลย จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์
จนกว่าจะมีคำาพิพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิด และจะปฏิบัติต่อผู้ต้องหา
หรือจำาเลย เช่นเดียวกับนักโทษมิได้ นอกจากนั้นระบบกฎหมายสิทธิมนุษยชน
ได้กำาหนดให้รัฐประกันสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ต้องหา หรือจำาเลยเพื่อไม่ให้
เจ้าหน้าที่รัฐกลั่นแกล้งจับกุมควบคุมตัวบุคคล อันเป็นการละเมิดต่อสิทธิ
ในบูรณภาพแห่งร่างกายของบุคคล (ดูสิทธิของผู้ต้องหา / สิทธิของจำาเลย)
นอกจากนี้ แนวปฏิบัติของเจ้าพนักงานบางกรณี เช่น การกักขัง หรือควบคุม
ตัวผู้ต้องหา / จำาเลยไว้รวมกับนักโทษเด็ดขาด (บุคคลที่ศาลตัดสินว่า
กระทำาผิด) การนำาตัวผู้ต้องหาที่รับสารภาพไปแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ถือว่า
เป็นการละเมิดสิทธิของผู้ต้องหา
ในคดีความผิดลหุโทษจะไม่มีการควบคุมตัวผู้ต้องหา
คำาที่เกี่ยวข้อง THE SUSPECT, DEFENDANT, CONVICTED
PERSON, THE RIGHT OF THE ACCUSED, THE RIGHT
TO SILENCE
3