Page 147 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 147

สันนิบาตชาติเป็นองค์การระหว่างประเทศองค์การแรกที่มีภารกิจ
            ครอบคลุมรอบด้าน แต่เนื่องจากไม่มีกองกำาลังของตัวเอง จึงต้องพึ่งพาชาติ
            มหาอำานาจในการดำาเนินการตามคำาสั่ง  สันนิบาตชาติถูกล้มเลิกไประหว่าง
            สงครามโลกครั้งที่สอง  เมื่อเยอรมนีเข้ายึดครองโปแลนด์ใน  ค.ศ.  1939
            (พ.ศ.  2482)  ต่อมาเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงจึงได้มีการจัดตั้ง
            สหประชาชาติ (United Nations) ขึ้นมาดำาเนินงานแทน

                  สันนิบาตชาติ  ก่อตั้งโดยกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสันนิบาตชาติ
            (Covenant of the League of Nations) ซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิกตั้งแต่
            เริ่มก่อตั้งสันนิบาตชาติ มีองค์กรที่สำาคัญสามองค์กรคือ

                  1. สมัชชา (Assembly) เป็นที่ประชุมใหญ่ขององค์การ ประกอบด้วย
                    ผู้แทนของประเทศสมาชิกทั้งหมด  มีหน้าที่พิจารณาปัญหาต่าง  ๆ
                    ที่อาจส่งผลกระทบต่อสันติภาพของโลก  ในสมัชชาประกอบด้วย
                    คณะกรรมาธิการด้านต่าง ๆ หลายคณะ เมื่อสันนิบาตชาติยุบไป
                    คณะกรรมาธิการหลายคณะได้ถ่ายโอนไปสังกัดสหประชาชาติ เช่น
                    คณะกรรมาธิการว่าด้วยทาส ทำาหน้าที่ขจัดระบบทาสและการบังคับ
                    ขายประเวณีโดยเฉพาะในประเทศอาณานิคม  คณะกรรมาธิการ
                    เพื่อผู้ลี้ภัย  (ต่อมากลายเป็นสำานักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัย
                    แห่งสหประชาชาติ)  คณะกรรมการศึกษาสถานะทางกฎหมาย
                    ของสตรี (ต่อมากลายเป็นคณะกรรมาธิการว่าด้วยสถานภาพของสตรี)
                    คณะกรรมการเพื่อความร่วมมือทางปัญญา (ต่อมากลายเป็นองค์การ
                    การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาติ หรือยูเนสโก)
                  2. คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยสมาชิกถาวรสี่ประเทศ คือ
                    ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี และญี่ปุ่น และสมาชิกประเภทไม่ถาวร
                    ที่มาจากการเลือกตั้งอีกสี่ประเทศ  ทำาหน้าที่พิจารณาเรื่องต่าง  ๆ
                    ที่เป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพและปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของ
                    สมัชชา

                  3. สำานักงานเลขาธิการ (Secretary-General) โดยมีเลขาธิการทำาหน้าที่
                    จัดทำารายงาน รักษาเอกสาร ดำาเนินการศึกษาวิจัย และประสานงาน
                    กับฝ่ายต่าง ๆ


        136
   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152