Page 148 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 148
นอกจากนั้นยังมีองค์การเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเป็นสมาชิกสมทบ
อีกหลายองค์กร เช่น
• ศาลยุติธรรมประจำาระหว่างประเทศ (International Permanent
Court of Justice หรือ IPCJ) ต่อมากลายเป็นศาลยุติธรรมระหว่าง
ประเทศ (International Court of Justice หรือ ICJ)
• องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour
Organisation หรือ ILO)
• องค์การอนามัย (Health Organisation) ต่อมากลายเป็นองค์การ
อนามัยโลก (World Health Organisation หรือ WHO)
วัตถุประสงค์สำาคัญประการหนึ่งของสันนิบาตชาติ คือ การพยายาม
ปลดปล่อยประเทศอาณานิคมให้ได้รับเอกราชโดยการยึดอาณานิคมจากประเทศ
ที่แพ้สงครามให้ประเทศที่ชนะสงครามดูแลภายใต้อาณัติของสันนิบาตชาติ
แต่วัตถุประสงค์นี้ไม่บรรลุผลเมื่อประเทศมหาอำานาจที่ชนะสงคราม
ไม่ยินยอมให้ประเทศอาณานิคมที่ตนดูแลได้รับเอกราช และกลายเป็น
เจ้าอาณานิคมใหม่เสียเอง ปัญหาความเหลื่อมล้ำาของการมีอาณานิคม
และไม่มีอาณานิคมเป็นสาเหตุอย่างหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สอง
คำาที่เกี่ยวข้อง INTERNATIONAL COURT OF JUSTICE, UNITED
NATIONS, ILO, WHO, UNESCO
LEGISLATIVE BRANCH ฝ่ายนิติบัญญัติ
สถาบันทางการเมืองที่มีหน้าที่พิจารณากลั่นกรองร่างกฎหมาย
และออกกฎหมาย ฝ่ายนิติบัญญัติในระบอบประชาธิปไตย คือ รัฐสภา
ซึ่งอาจจะเป็นสภาเดียว หรือสองสภา กรณีที่เป็นแบบสภาเดียว สมาชิก
รัฐสภาจะเป็นสภาผู้แทนราษฎร กรณีที่เป็นแบบสองสภาจะประกอบด้วย
สภาสูง และสภาล่าง ซึ่งอาจมีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น ฝ่ายนิติบัญญัติ
ของประเทศไทยประกอบด้วยวุฒิสภา (Senate) หรือที่เรียกว่า “สภาสูง”
และสภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives) หรือที่เรียกว่า
137