Page 145 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 145
Parties) ธรรมนูญแห่งกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ ณ กรุงคัมพาลา
ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553)
หลักการสำาคัญของธรรมนูญกรุงโรม คือ การสร้างความยุติธรรมระหว่าง
ประเทศและการยับยั้งหรือยุติความเชื่อและวิถีแห่งการอยู่เหนือกฎหมาย
(Impunity)
คำาที่เกี่ยวข้อง INTERNATIONAL CRIMINAL COURT, ROME
STATUTE, IMPUNITY
JUVENILE COURT ศาลเยาวชน
ศาลที่มีอำานาจพิจารณาไต่สวนและพิพากษาคดีที่เด็กและเยาวชน
กระทำาความผิดอาญา
ประเทศต่าง ๆ มีกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในการดำาเนินคดีเด็ก
และเยาวชนที่กระทำาความผิดต่างจากผู้ใหญ่กระทำาความผิด เนื่องจากเห็นว่า
เด็กเป็นผู้ที่ยังพัฒนาสติปัญญา ความสามารถในการคิด ตัดสินใจได้ไม่เต็มที่
เท่าผู้ใหญ่และยังขาดประสบการณ์ชีวิต ดังนั้นอาจกระทำาความผิดไปด้วย
การขาดสติยั้งคิด ดังนั้นเมื่อเด็กกระทำาความผิดควรจะต้องค้นหาสาเหตุ
ของการกระทำาความผิดมากกว่าที่จะพิสูจน์ความผิดของการกระทำา กระบวนการ
พิจารณาในศาลเด็กและเยาวชนจึงมุ่งที่จะคุ้มครองเด็ก สวัสดิภาพ
ของเด็กและเยาวชน โดยมีเป้าหมายเพื่อการแก้ไขบำาบัดและฟื้นฟู ยิ่งกว่า
การลงโทษ
ประเทศไทยได้มีประกาศจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2494
(ค.ศ. 1951) ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนามาเป็นศาลเยาวชนและครอบครัว (Juvenile
and Family Court) ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว
และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000)
เพื่อให้มีอำานาจรับคดีเกี่ยวกับครอบครัวไว้พิจารณาได้
ในการดำาเนินคดีอาญาเด็กที่กระทำาผิดมักใช้การพิจารณาเป็นการลับ
เพื่อป้องกันความรู้สึกว่าเด็กมีบาปติดตัว (ดู Trial, in camera) คำานี้ในบางครั้งใช้
Young Offender’s Court ซึ่งมีความหมายเหมือนกัน
134