Page 141 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 141
เจ้าพนักงานสอบสวนจะต้องส่งสำานวนการสอบสวนและความเห็นไปยัง
เจ้าพนักงานอัยการต่อไป พนักงานอัยการอาจสั่งฟ้อง ไม่ฟ้อง หรือให้
เจ้าพนักงานสอบสวนสอบสวนเพิ่มเติมได้
มาตรฐานสิทธิมนุษยชนได้กำาหนดแนวปฏิบัติต่อผู้ต้องหาไว้ว่า
การสอบสวนจะต้องกระทำาโดยไม่ชักช้า ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะได้รับการพิจารณา
การประกันตัวต้องถือว่าผู้ที่ถูกสอบสวนยังเป็นผู้บริสุทธิ์ ดังนั้นจะปฏิบัติ
ต่อบุคคลนั้นเช่นนักโทษมิได้ และจะต้องปฏิบัติต่อบุคคลนั้นอย่างเคารพ
ต่อศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กำาหนดให้เจ้าพนักงานตำารวจ
สามารถควบคุมตัวเพื่อการสอบสวนได้ไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมงนับตั้งแต่เวลา
มาถึงสถานที่สอบสวน กรณีที่จำาเป็นต้องควบคุมตัวเกินกว่านั้นต้องขออนุญาต
ศาลเป็นครั้ง ๆ ไป แต่เมื่อรวมกันแล้วจะควบคุมตัวได้ไม่เกินแปดสิบสี่วัน
JOHANNESBURG PRINCIPLES หลักการโยฮันเนสเบิร์ก
คำาเรียกอย่างย่อของ “หลักการโยฮันเนสเบิร์กว่าด้วยความมั่นคงของรัฐ
เสรีภาพในการแสดงออก และการเข้าถึงข้อมูล (The Johannesburg Principles
on National Security, Freedom of Expression and Access to Information)”
ซึ่งหลักการนี้เกิดจากการรับรองโดยคณะผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน
ที่เกี่ยวกับการแสดงออก ที่ประชุมกันที่เมืองโยฮันเนสเบิร์ก ประเทศแอฟริกาใต้
ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1995 (พ.ศ. 2538)
หลักการดังกล่าวมุ่งสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับแนวทางในการใช้อำานาจ
ของรัฐในการจำากัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกเพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษา
ความมั่นคงของรัฐ หลักการนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการสร้างดุลยภาพขึ้น
ระหว่างความมั่นคงปลอดภัยของรัฐกับอิสรภาพของบุคคลในการแสดงออก
และเข้าถึงข้อมูล เพื่อป้องกันไม่ให้รัฐใช้เหตุผลด้านความมั่นคงโดยไม่มีขอบเขต
หรือไม่มีเหตุผลเพียงพอ
หลักการดังกล่าวประกอบไปด้วยข้อบท 25 ข้อ แบ่งเป็นสี่ส่วน คือ
หลักการทั่วไป หลักการเกี่ยวกับการจำากัดเสรีภาพในการแสดงออก หลักการ
เกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมาย และหลักการเรื่องอื่น ๆ
130