Page 140 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 140
ประวัติวันสิทธิสตรีสากลได้มาจากขบวนการเรียกร้องสิทธิคนงานสตรี
โรงงานทอผ้าในนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ที่จัดการชุมนุมประท้วงใน ค.ศ. 1857
(พ.ศ. 2400) เพื่อให้นายจ้างปรับปรุงสภาพการจ้างงานที่กดขี่แรงงานสตรี
เช่น การทำางานวันละสิบห้าชั่วโมงให้เหลือวันละแปดชั่วโมง และเรียกร้องค่าจ้าง
ที่เป็นธรรมจากนายจ้าง ต่อมาในประเทศเยอรมนี นางคลารา แซทคิน
ผู้นำากรรมกรหญิงชาวเยอรมันได้นัดหยุดงานและชุมนุมประท้วงขึ้น
ในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450) เพื่อเรียกร้องสิทธิแรงงาน
และสิทธิเลือกตั้ง เมื่อมีการประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยมระหว่างประเทศ
ใน ค.ศ. 1910 (พ.ศ. 2453) ที่ประชุมได้มีมติให้วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี
เป็นวันสตรีสากลตามข้อเสนอของนางแซทคิน
ในประเทศไทย หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนได้จัดกิจกรรม
เพื่อร่วมเฉลิมฉลองวันสตรีสากลนี้ตลอดมา และได้มีการก่อตั้งคณะกรรมการ
ส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ (กสส.) ขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่
8 มีนาคม พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989)
INTERROGATION / การสอบสวน
INQUISITION / INQUIRY
กระบวนการในการรวบรวมพยานหลักฐานและดำาเนินการ เพื่อให้ได้
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีอาญา และเพื่อให้ได้ตัวบุคคลที่กระทำาผิดมาดำาเนินคดี
หรือเพื่อพิสูจน์ความผิดของบุคคล คำาว่า “พยาน” หมายถึง พยานบุคคล
พยานเอกสาร และพยานวัตถุ
การสอบสวนจะกระทำาโดยพนักงานสอบสวนที่มีอำานาจตามกฎหมาย
ซึ่งอาจจะเป็นเจ้าพนักงานตำารวจ หรือพนักงานอื่น เช่น เจ้าพนักงาน
ศุลกากร เจ้าพนักงานสรรพสามิต สารวัตรทหาร หรือเจ้าพนักงานป้องกัน
และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
การสอบสวนเป็นขั้นตอนสำาคัญในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
เมื่อมีการกระทำาความผิดอาญาเกิดขึ้นกฎหมายให้อำานาจเจ้าพนักงาน
ในการสืบสวน จับกุม ค้นยึดสิ่งของ ปล่อยชั่วคราว หรือขออนุญาตศาล
ให้ควบคุมตัวบุคคลไว้ชั่วคราวระหว่างสอบสวนได้ เมื่อการสอบสวนเสร็จสิ้น
129