Page 93 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 93
๘๔
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
การบรรลุข้อตกลงหยุดยิง สงบศึกกับกบฏชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่าง ๆ ในประเทศ เช่น กะเหรี่ยง ฉาน
กะฉิ่น ว้า โกก้าง และล่าสุดขณะที่เขียนคือ มอญ กลุ่มพรรครัฐมอญใหม่ (เอ็นเอ็มเอสพี) ตอนนี้ยังเหลือ
อีกจ านวนหนึ่ง แต่รัฐบาลพม่ามีความเชื่อมั่นว่าจะสามารถเจรจาหยุดยิงกับชนกลุ่มน้อยทั้งหมดได้ใน
ที่สุด
๙
ส าหรับประเด็นเรื่อง ผู้ลี้ภัยการสู้รบนั้น รัฐบาพม่าได้เปลี่ยนแปลงท่าทีเรื่องนี้อย่างมาก ในอดีต
รัฐบาลพม่าได้ยืนกรานที่จะปฏิเสธคนกลุ่มนี้ โดยมองว่าเป็นผู้กระท าผิดและหลบหนีเจ้าหน้าที่ของ
บ้านเมือง เป็นผู้ออกนอกประเทศอย่างผิดกฎหมาย เป็นกองโจรและเป็นสมาชิก ครอบครัว บรรดา
ผู้ต่อต้านรัฐบาลทั้งหลาย ผู้ที่ให้ยอมรับและให้ความคุ้มครองกับบุคลเหล่านี้ก็จะเป็นการไม่ยุติธรรมต่อ
๑๐
ประเทศเมียนมาร์ แต่ในปัจจุบัน รัฐบาลพม่าแสดงให้เห็นความตั้งใจในการร่วมมือกับนานาชาติเพื่อให้
การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมผู้ได้รับผลกระทบจากการสู้รบ และรับรู้ถึงการมีตัวตนของผู้พลัดถิ่น
นอกจากนี้ ยังได้เชิญองค์การสหประชาชาติท าหน้าที่ช่วยเหลือผู้พลัดถิ่นในดินแดนของรัฐคะฉิ่น ในด้าน
การท างานร่วมกับส านักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาตินั้น รัฐบาลได้ให้ความร่วมมือโดยระบุ
๑๑
กลุ่มคนไร้รัฐ ชาวจีนและฮินดู และมีการให้สัญชาติแก่บางกลุ่มด้วย
๔.๓.๓ การเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ในปี ๒๕๕๘ ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๙ ในปี ๒๕๔๙ ที่บาหลี ผู้น าอาเซียนได้แสดง
เจตนาก่อตั้งประชาคมอาเซียนขึ้น ประกอบด้วยประชาคมในสามเสาหลัก ซึ่งในส่วนของประชาสังคมและ
วัฒนธรรม อาเซียนมีเป้ าหมายจะเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง สังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน
ส่งเสริมให้ประชากรมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ส่งเสริม
การใช้ทรัพยากรธรรมชาติทียั่งยืน และส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียน เป้ าหมายเหล่านั้นจะเกิดขึ้นไม่ได้
๙ ผู้จัดการออนไลน์. “เจ้าหน้าที่ระดับสูงระบุสันติภาพในพม่าอาจส าเร็จภายใน ๓ เดือน”.
http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=๙๕๕๐๐๐๐๐๒๑๘๒๑&CommentReferID=
๒๐๘๑๖๑๙๓&CommentReferNo=๑&
๑๐ Kyemon, December ๑๕, ๒๐๐๐ อ้าง ในพรพิมล ตรีโชติ. “ไร้แผ่นดิน เส้นทางจากพม่าสู่ไทย”. สถาบันเอเชียศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า ๒๒๗
๑๑ Lynn Yoshikawa and Kristen Cordell. “Refugees survive continued displacement with Burma / Myanmar
transition”.