Page 96 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 96

๘๗
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”



                        ๔.๔.๒   การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัยขณะอยู่ในประเทศไทย



                        เมื่อผู้ลี้ภัยเดินทางเข้ามาในประเทศไทย หน่วยงานภาคประชาสังคมสามารถแจ้งให้ผู้ลี้ภัยทราบถึง

                  สิทธิขั้นพื้นฐานของตน วิธีขอรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเนื่องจากหน่วยงานภาค

                  ประชาสังคมมักท างานใกล้ชิดกับผู้ลี้ภัย จึงมีความเข้าใจในปัญหาอย่างดี จึงสามารถเสนอแนวทางการ

                  แก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม น าไปสู่การแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยอย่างยั่งยืน



                        ๔.๔.๓   ร่วมในการวางแผนบริหารจัดการผู้ลี้ภัยในระยะยาวโดยยึดหลักสิทธิมนุษยชน


                        หน่วยงานภาคประชาสังคมสามารถรถร่วมกับภาครัฐในการวางแผนการบริหารจัดการผู้ลี้ภัย โดย

                  เสนอวิธีการที่ท าให้ผู้ลี้ภัยสามารถช่วยเหลือตนเองได้เพื่อแบ่งเบาภาระในการดูแลผู้ลี้ภัยของรัฐ

                  นอกจากนี้หน่วยงานภาคประชาสังคมยังสามารถประสานงานให้ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญได้พบและ

                  แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้มีหน้าที่ในการจัดท านโยบาย นอกจากนี้ การเข้ามามีส่วนร่วมของภาค

                  ประชาสังคมในการตรวจสอบการท างานของภาครัฐ ยังท าให้กระบวนการท างานของรัฐบาลมีความ


                  น่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น


                         หน่วยงานภาคประชาสังคมสามารถเป็นสื่อกลางเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยที่ถูกต้อง

                  ให้กับคนในประเทศได้ทราบและเข้าใจถึงสาเหตุความจ าเป็นที่ท าให้ผู้ลี้ภัยต้องอพยพเข้ามาในประเทศ

                  แนวทางที่การให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย หน่วยงานภาคประชาสังคม โดยใช้ช่องทางซึ่งหน่วยงานภาค


                  ประชาสังคมแต่ละแห่งมีศักยภาพ เช่น การจัดท าสิ่งพิมพ์ การเผยแพร่ความรู้ทางเว็บไซต์ การจัดการ

                  อบรม


                         ๔.๔.๔  สนับสนุนให้ภาครัฐปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศ


                         ในด้านการใช้กลไกขององค์การสหประชาชาติในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ภาคประชาสังคมมี

                  บทบาทในการร่วมมือคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เช่น การจัดท ารายงานประเทศของภาคประชาสังคมในการ


                  เสนอรายงานสิทธิมนุษยชนในกระบวนการ UPR และมีศักยภาพในการน าเสนองานวิจัย ผลงานทาง

                  วิชาการที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงในการแก้ไขปัญหาให้กับ

                  ผู้ลี้ภัยได้
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101