Page 91 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 91

๘๒
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”



                  ๔.๓  การปรับบทบาทของหน่วยงานด้านความมั่นคง


                         ๔.๓.๑  หลักการของสิทธิมนุษยชน และหลักความมั่นคงมนุษย์


                         ประเทศซึ่งเป็นผู้ให้ที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัยมักรู้สึกถึงความไม่เป็นธรรมในการตกเป็นผู้แบกรับภาระ

                  โดยเฉพาะในกรณีประเทศไทยที่ได้ให้ที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัยมาเป็นเวลายาวนานมากกว่า ๒๐  ปี ซึ่งฝ่ายที่


                  เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ลี้ภัยการสู้รบได้แสดงความเห็นใจต่อประเทศไทยที่จ าเป็นต้องแบกรับภาระ

                  ดังกล่าว  อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยไม่ควรอ้างเหตุนี้เพื่อสร้างความชอบธรรมในการละเมิดสิทธิ
                          ๕
                  มนุษยชนของผู้ลี้ภัย รัฐบาลไทยควรปฏิบัติตามเงื่อนไขในการส่งตัวกลับตามกฎหมายระหว่างประเทศ

                  เรื่อง หลักการไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตราย และพันธกรณีอื่นของประเทศไทยตามกฎหมายสิทธิมนุษยชน



                         ทั้งนี้ การให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลี้ภัย เป็นการประกันว่ารัฐตระหนักและเห็นความส าคัญต่อสิทธิ

                  และเสรีภาพของบุคคลโดยไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุทางเชื้อชาติ ศาสนา ความคิดทางการเมือง และหาก

                  พิจารณาผลลัพธ์ของการให้การคุ้มครองดูแลสิทธิและเสรีภาพของผู้ลี้ภัยการสู้รบแล้วเห็นว่าส่งผลดีต่อ

                  ความมั่นคงของประเทศไทยอย่างยิ่ง เนื่องจากบุคคลเหล่านี้จะเป็นผู้ที่กลับไปสู่ประเทศเมียนมาร์ซึ่งเป็น

                  ประเทศเพื่อนบ้านของไทย การที่ประเทศไทยปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยการสู้รบเหล่านี้โดยให้การคุ้มครองสิทธิของ


                  เขาย่อมเป็นการสร้างมิตรซึ่งที่อยู่ตรงพรมแดนไทย-พม่า ซึ่งดีกว่าการมีศัตรูอยู่ชิดติดพรมแดน
                                                                                                 ๖

                         อีกทั้ง แนวคิดเรื่องความมั่นคงของประเทศนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต ความมั่นคงของ

                  ประเทศนั้นไม่ได้หมายถึงความมั่นคงทางเขตแดนทางภูมิศาสตร์เท่านั้น แต่ยังหมายถึงความมั่นคงทาง

                  เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อรัฐให้ความส าคัญกับหลักความมั่นคงมนุษย์ (Human Security)


                  มุ่งส่งเสริมการพัฒนาอย่างเป็นประชาธิปไตย คุ้มครองสิทธิมนุษยชนเสรีภาพขั้นพื้นฐาน สร้างความเป็น

                  ธรรมทางสังคม และ เคารพหลักนิติรัฐ  ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะก่อให้เกิดสันติภาพถาวรขึ้นในประชาคมระหว่าง

                  ประเทศ ยิ่งกว่าการฟาดฟันกันด้วยอาวุธ


                          นอกจากนี้ ปัจจัยหนึ่งซึ่งส่งผลต่อการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัย คือ ทัศนคติของคนไทย ซึ่งจากการส ารวจ


                  พบว่าแม้ประเทศไทยจะได้ให้ที่ลี้ภัยกับผู้อพยพลี้ภัยการสู้รบมาเป็นเวลานาน แต่คนไทยกลับยังคง







                  ๕  พรพิมล ตรีโชติ. “ไร้แผ่นดิน เส้นทางจากพม่าสู่ไทย”. สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.หน้า ๒๐๓

                  ๖ พรพิมล ตรีโชติ. “ไร้แผ่นดิน เส้นทางจากพม่าสู่ไทย”. สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า ๒๔๒
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96