Page 97 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 97

๘๘
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”



                         นอกจากนี้ หน่วยงานภาคประชาสังคมยังมีบทบาทในการพัฒนาการกรอบทางกฎหมายที่ใช้

                  คุ้มครองผู้ลี้ภัย เช่น อนุสัญญาห้ามทุ่มระเบิดสังหารบุคคล (Convention on  the ban  Landmines)  ซึ่ง


                  เป็นผลมาจากการริเริ่มของภาคประชาสังคม ซึ่งเป็นผู้ที่ประสบกับปัญหาโดยตรงจากทุ่นระเบิดสังหาร

                  บุคคล และได้ร่วมตัวกันตั้งการรณรงค์ในระดับสากลเพื่อต่อต้านการใช้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล และกดดัน

                  ให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ด าเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จนท าให้มีการร่างอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิด

                                ๑๔
                  สังหารบุคคลขึ้น


                         ภาคประชาสังคมสามารถท างานร่วมกับรัฐเพื่อสร้างแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน แต่ทั้งนี้

                  การเข้ามามีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมนั้นจะต้องมีความโปร่งใส มีเป็นอิสระในการท างาน และเคารพ

                  กรอบของกฎหมาย   และเพื่อให้การท างานร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานภาคประชา

                  สังคมมีประสิทธิภาพสมควรจัดระบบการประสานงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย

                  ซึ่งจะได้กล่าวถึงในข้อต่อไป



                  ๔.๕  ระบบการประสานงานที่มีประสิทธิภาพระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง


                         ระบบประสานงานที่สามารถส่งเสริมและประสิทธิภาพการท างานของหน่วยงานด้านผู้ลี้ภัย นั้น

                  สามารถเกิดขึ้นได้โดย ๒ วิธีหลัก คือ การตั้งหน่วยงานประสานงานกลาง และการจัดท าฐานข้อมูลร่วมกัน


                         ก.  ตั้งหน่วยงานประสานงานกลาง


                         การส่งผู้ลี้ภัยเดินทางกลับประเทศต้นทาง เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับหลายฝ่ายทั้งหน่วยงานของรัฐ

                  ภาคประชาสังคม ประชาชนในพื้นที่ และผู้ลี้ภัย ซึ่งแต่ละฝ่ ายมีการเก็บรวมรวมข้อมูล ศักยภาพ

                  วัตถุประสงค์ในการท างานที่แตกต่างกัน เพื่อการท างานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพจึงจ าเป็นที่จะต้อง

                  สร้างระบบประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ขึ้น โดยการตั้งหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบในการ

                  ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัยทั้งหมด ท าหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัย

                  สถานการณ์ในประเทศต้นทาง หน่วยงานที่ให้การดูแลช่วยเหลือผู้ลี้ภัย  และประสานงานให้มีการ


                  แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


                  ๑๔  Walter Fust, “CIVIL SOCIETY IN  INTERNATIONAL COOPERATION” the Opening Session of the World
                  Civil Society Forum, Geneva, July ๑๕, ๒๐๐๒. http://www.worldcivilsociety.org/documents/

                  ๑๕.๐๑_fust_walter_ddc.doc
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102