Page 92 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 92

๘๓
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”



                                        ๗
                  ทัศนคติในแง่ลบต่อผู้ลี้ภัย  โดยมองว่าบุคคลเหล่านี้เป็นปัญหาความมั่นคงของประเทศ และเป็นภาระทาง
                  เศรษฐกิจ ซึ่งทัศนคติดังกล่าวอาจเกิดหลายปัจจัย เช่น การน าเสนอภาพผู้ลี้ภัยโดยสื่อ ซึ่งจากการศึกษา


                                      ๘
                  ของ เพื่อนไร้พรมแดน  พบว่าสื่อไทยมีความเข้าใจในประเด็นเรื่องผู้ลี้ภัยน้อยมาก และบางส่วนยังมี
                  ทัศนคติในแง่ลบต่อผู้ลี้ภัยอย่างชัดเจน


                         ๔.๓.๒   สถานการณ์ในประเทศเมียนมาร์



                         เงื่อนไขที่ส าคัญที่สุดในการส่งผู้หนีภายการสู้รบกลับประเทศเมียนมาร์ ก็คือ เสถียรภาพความ

                  มั่นคงทางการเมืองของประเทศเมียนมาร์ และสถานการณ์ปลอดจากการสู้รบในบริเวณชายแดนไทยพม่า

                  ซึ่งนับเป็นวิธีการที่แก้ไขปัญหาระยะยาวที่ยั่งยืนและถาวร โดยในปัจจุบัน สถานการณ์ประเทศเมียนมาร์

                  ซึ่งเป็นประเทศต้นทางได้มีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น รัฐบาลพม่าโดยประธานาธิบ ดีเต็ง เส่ง ได้ประกาศ

                  การปฏิรูปประเทศโดยเน้นทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจ รัฐบาลพม่าได้ลดการควบคุมและตรวจสอบสื่อ

                  ยุติการปิดกั้นสื่อของฝ่ายค้าน และสื่อต่างชาติมากขึ้น อีกทั้ง ยังมีการปล่อยตัวนักโทษการเมืองจ านวน


                  มาก ซึ่งรวมถึงแกนน าหลายคนของฝ่ายค้าน ทั้งสมาชิกกลุ่มนักศึกษา “๘๘ เจนเนอเรชั่น”  สมาชิกพรรค

                  เอ็นแอลดี นักกฎหมาย นักหนังสือพิมพ์ และ พล.อ.ขิ่น ยุนต์ อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ถูกกักบริเวณใน

                  บ้านพักกรุงย่างกุ้ง นับตั้งแต่ปี ๒๕๔๗



                         การท าให้เอ็นแอลดีและนางออง ซาน ซูจี ตัดสินใจกลับคืนสู่การเมือง ตามกติกาของระบอบ

                  ประชาธิปไตย โดยเอ็นแอลดีส่งสมาชิกรวมทั้งซูจี ลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อม ส.ส. และ ส.ว. ในวันที่ ๑

                  เมษายน ๒๕๕๕











                  ๗  องค์การเพื่อผู้ลี้ภัยและผู้อพยพแห่งสหรัฐอเมริกา(ประเทศไทย) และศูนย์วิจัยเอแบค มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ท าการ

                   ส ารวจการรับรู้และทัศนคติของประชาชนไทยต่อผู้ลี้ภัยที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย  ระหว่างวันที่ ๒๘  เมษายน - ๘
                   พฤษภาคม ๒๕๕๐ พื้นที่ที่ท าการส ารวจรวมทั้งสิ้น ๑๑ จังหวัด โดยเป็นพื้นที่ซึ่งมีสถานที่พักพิงชั่วคราว (ค่ายผู้ลี้ภัย)
                   ตั้งอยู่ ๔ จังหวัด คือ แม่ฮ่องสอน, ตาก, ราชบุรี, กาญจนบุรี และพื้นที่ซึ่งไม่มีสถานที่พักพิงชั่วคราวตั้งอยู่อีก ๗ จังหวัด

                   คือ กรุงเทพ, ชลบุรี, สระแก้ว, เชียงใหม่, ขอนแก่น, สมุทรสาคร, และสงขลา
                  ๘  มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน “ สรุปผลการศึกษาการน าเสนอภาพผู้ลี้ภัยโดยสื่อมวลชนไทย”.

                      http://www.friends-without-borders.org/article.htm?detail_id=๔๕๗
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97