Page 89 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 89
๘๐
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
รัฐบาลไทยยินยอมให้ผู้ลี้ภัยจากการสู้รบพักอาศัยอยู่ในประเทศไทยโดยมีเงื่อนไขดังนี้
๑) ยอมให้อยู่ในราชอาณาเขตประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราว เมื่อผู้ลี้ภัยจากการสู้รบข้าม
ชายแดนเข้ามาเขตประเทศไทยจะอ านวยความสะดวกและช่วยเหลือให้ที่พักพิงชั่วคราวใน
พื้นที่ปลอดภัยบนพื้นฐานของหลักมนุษยธรรม
๒) ผู้ลี้ภัยจากการสู้รบต้องอยู่ในพื้นที่ที่ทางราชการจัดให้เท่านั้นและสถานที่นั้นเป็นพื้นที่พักพิง
ชั่วคราว ไม่ใช่ค่ายผู้ลี้ภัย
๓) เมื่อการสู้รบในประเทศเมียนมาร์สิ้นสุดลงหรือเมื่อสภาวะความไม่สงบ ความไม่ปลอดภัย
ผ่านพ้นไป ผู้ลี้ภัยจากการสู้รบต้องเดินทางกลับประเทศของตนทันทีโดยฝ่ายไทยจะเป็น
ผู้อ านวยความสะดวกและให้ความช่วงเหลือให้เดินทางกลับประเทศด้วยความปลอดภัยและ
สมศักดิ์ศรี
อย่างไรก็ตาม แม้ประเทศไทยจะก าหนดว่า “เมื่อการสู้รบในประเทศเมียนมาร์สิ้นสุดลงหรือเมื่อ
สภาวะความไม่สงบ ความไม่ปลอดภัยผ่านพ้นไป ผู้ลี้ภัยจากการสู้รบต้องเดินทางกลับประเทศของตน
ทันทีโดยฝ่ายไทยจะเป็นผู้อ านวยความสะดวกและให้ความช่วงเหลือให้เดินทางกลับประเทศด้วยความ
ปลอดภัยและสมศักดิ์ศรี” แต่ประเทศไทยก็ไม่ได้มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอันตราย หรือความเสี่ยงใน
พื้นที่ที่ผู้ลี้ภัยจะต้องถูกส่งตัวกลับแต่อย่างใด
ด้วยเหตุนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการไม่ผลักดันกลับและเพื่อเป็นกรอบทางกฎหมายที่ชัดเจน
แน่นอนส าหรับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัย จึงเสนอให้มีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติ
คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ในมาตรา ๕๔ ซึ่งเป็นมาตราหลักที่ให้อ านาจเจ้าหน้าที่ส่งคนต่างด้าวออกนอก
ประเทศ โดยต้องบัญญัติเพิ่มเติมให้มีการพิจารณาความเสี่ยงของที่บุคคลนั้น ๆ จะได้รับอันตรายต่อชีวิต
และเสรีภาพ และปรับปรุงนโยบายของรัฐในการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัย โดยบัญญัติเพิ่มเติมก าหนดให้ประเทศ
ไทยปฏิบัติตามหลักการไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตราย มีการประเมินอันตรายและความเสี่ยงในการส่ง
ผู้ลี้ภัยกลับประเทศต้นทาง
ประเทศไทยจะต้องก าหนดให้การประเมินสถานการณ์อย่างแท้จริง รอบด้าน และเปิดโอกาสให้
บุคคลที่จะถูกส่งตัวกลับมีโอกาสที่ได้แสดงความเห็น เมื่อเสร็จสิ้นการประเมินแล้ว พบว่าผู้ลี้ภัยไม่มีความ
เสี่ยงที่จะได้รับอันตรายในชีวิตและเสรีภาพหากมีการส่งกลับ องค์กรซึ่งมีอ านาจจะต้องพิจารณาเวลาและ