Page 88 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 88

๗๙
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”



                         การพิจารณาความปลอดภัยของประเทศต้นทาง นอกจากจะเป็นการคุ้มครองสวัสดิภาพของ

                  ผู้ลี้ภัย ยังเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า ประเทศไทยได้ให้ความคุ้มครองสิทธิมนุษยชนแก่บุคคลทุกคนในอาณาเขต


                  ของรัฐอย่างแท้จริง ตามที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๔ “ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ  และ

                  เสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง” และ มาตรา ๒๖ “การใช้อ านาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร

                  ต้องค านึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพ”


                          นอกจากการบัญญัติรับรองหลักการไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตรายแล้ว ประเทศไทยควรปรับปรุง


                  นโยบายและมาตรการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันให้สอดคล้องกับหลักการไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตราย เพื่อให้

                  สิทธิและเสรีภาพของผู้ลี้ภัยได้รับการคุ้มครองอย่างแท้จริง


                  ๔.๒   นโยบายและมาตรการที่ควรปรับปรุงเพื่อให้เป็ นไปตามหลักการไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไป

                  สู่อันตราย (Non - Refoulement)


                                                                                      ๓
                         ประเทศไทยได้วางกฎระเบียบในการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยอย่างเคร่งครัด  โดยมีเป้ าหมายในการ
                  ควบคุมผู้ลี้ภัยการสู้รบให้อยู่ในพื้นที่ที่ก าหนดเท่านั้น และวางเจ้าหน้าที่เพื่อควบคุมพื้นที่ไว้เป็นการเฉพาะ

                  และรัฐบาลไทยมีนโยบายเด็ดขาดในการด าเนินคดีต่อผู้ที่ฝ่าฝืนกฎระเบียบ โดยกระทรวงมหาดไทย

                  ก าหนดว่าผู้ลี้ภัยจากการสู้รบเป็นผู้เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ภายใต้พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.

                  ๒๕๒๒ และไม่ใช่บุคคลที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในประเทศเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๑๗ แห่ง


                  พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.  ๒๕๒๒ เพียงแต่มีมติสภาความมั่นคงแห่งชาติและแนวทางปฏิบัติที่

                  ผ่อนปรนให้ผู้ลี้ภัยการสู้รบพักอาศัยอยู่ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับเมื่อเหตุการณ์การสู้รบยุติ

                  ลง ดังนั้นหากผู้ลี้ภัยจากการสู้รบลักลอบออกนอกพื้นที่ควบคุมจะถูกจับด าเนินคดีเป็นบุคคลต่างด้าวเข้า

                  เมืองผิดกฎหมายทันที และด าเนินการส่งกลับออกนอกราชอาณาจักรโดยใช้อ านาจตามพระราชบัญญัติ

                  คนเข้าเมือง ๒๕๒๒ ท าให้พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ มีบทบาทส าคัญในการควบคุมผู้ลี้ภัย


                  การสู้รบและเป็นเครื่องมือที่ผู้ลี้ภัยการสู้รบหวั่นเกรงเพราะผู้ลี้ภัยการสู้รบนั้นกลัวการถูกลงโทษด้วยการ

                  ส่งกลับประเทศ









                  ๓  อนุกรรมการสิทธิมนุษยชนและสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการ

                  คุ้มครองผู้บริโภคของวุฒิสภา. “เอกสารรายงานการพิจารณาศึกษา พ.ศ.๒๕๕๑ เรื่องปัญหาผู้ลี้ภัยจากการสู้รบ”
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93