Page 83 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 83
๗๔
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
แห่งชาติลงไปปรึกษาหารือกันว่า “จะน าไปสู่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในมุมที่เป็นคุณต่อการส่งเสริมสิทธิ
มนุษยชนในฐานะที่ทุกคนเป็นมนุษย์ได้อย่างไร”
นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กล่าวปิดเวทีน าเสนอผลการวิจัยว่า คณะกรรมการสิทธิ
มนุษยชนแห่งชาติให้ท าการวิจัยเรื่องนี้ เพราะการมองภาพรวมเรื่องการจัดการประชากรของภูมิภาค
อาเซียนไม่ใช่แค่เรื่องของผู้อพยพ หรือผู้ลี้ภัย ประเด็นที่พูดวันนี้เรื่องปัญหาในการบริหารจัดการผู้อพยพ
หรือผู้ลี้ภัยจากสงคราม จึงเห็นด้วยที่ผู้แทนจาก IOM บอกว่า “เป็นแค่เศษเสี้ยว เล็ก ๆ ของปัญหาการ
จัดการประชากร” แต่คิดว่าเรื่องนี้มีความส าคัญที่เป็นหัวใจของการพัฒนาในภูมิภาคอาเซียนที่เราเห็น
ตรงกันว่า “ไม่ต้องการการพัฒนาเพื่อประโยชน์ของคน หรือบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ต้องการพัฒนาเพื่อ
ประโยชน์ของประชาชน หรือว่าชาวอาเซียนทั้งมวล ไม่ว่าจะเป็นไทย พม่า ลาว กัมพูชา มาเลเชีย
อินโดนีเซียหรือแม้แต่ชาติที่ร ่ารวยอย่างบรูไนและสิงคโปร์
ประเด็นการน าเสนอผลการวิจัยวันนี้ ตั้งต้นจากการที่เราไปตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในพื้นที่
จังหวัดตาก จังหวัดกาญจนบุรี หรือที่อ าเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ ข้าราชการบอกกับผมว่า
“หมอครับ ผมเป็นทหาร ผมรู้สึกล าบากมากที่ต้องมาคอยต้อนรับหมอ หมอมาท าไม แทนที่ผมเอาเวลาไป
ป้ องกันชายแดน” ผมก็เลยบอกว่า “จริง ๆ แล้วผมมาช่วยพวกคุณนะ เพราะผมรู้ว่าปัญหาเรื่องการดูแล
ชายแดนมันไม่ควรจ ากัดเฉพาะทหาร มันควรจะเป็นเรื่องของหน่วยงานของรัฐ หรือกระทรวงอื่น ๆ มาช่วย
ดูแล เพราะเวลาใครพูดอะไรเขาก็ด่าทหารอย่างเดียวว่า ทหารจัดการไม่ดี เช่น เรื่องการส่งกลับ”
ตอนที่ไปพบแม่ทัพภาค๓ ผมพูดเลยว่า “หลักการส่งกลับจะยึดหลักสิทธิมนุษยชน” แต่ในทาง
ปฏิบัติชาวบ้านที่มาร้องกับหมอซินเธีย หม่อง ตอนที่มาร้องก็อยู่ในป่าเขาชายแดนไทย – พม่า มีจ านวน
มากถึง ๑๐,๐๐๐ กว่าคน แต่ละคนมีสภาพไม่ใช่แค่ว่าน่าสงสาร เพราะเขาไม่ควรจะมารับเคราะห์กรรม
หรือภัยพิบัติที่ไม่ได้เกิดจากน ้ามือของเขาเลย ประเด็นเหล่านี้ท าให้ผมเกิดความรู้สึกว่า ไม่ใช่แค่เรื่องของ
ภาคประชาชน หรือ NGOs อย่างเดียวที่มาร้องกับเรา เพราะมันมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของการบริหาร
จัดการภาครัฐที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง
สภาพปัญหาในพื้นที่ที่กระทบต่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยในชีวิตปกติสุข ประเด็นการ
ละเมิดสิทธิมนุษยชน สิทธิในการมีชีวิต และการที่จะให้หลักประกันความปลอดภัยเพื่อส่งกลับโดยสมัคร
ใจ แต่ปัญหาตรงนั้นไม่ใช่เรื่องที่จบได้ในระยะเวลาสั้น ๆ เลยเกิดปัญหาการละเมิดสิทธิอื่น ๆ ต่อเนื่อง เช่น