Page 106 - รายงานสรุปโครงการประชุมวิชาการระดับชาติ ชุมคน ชุมชน คนใต้ ครั้งที่ 3
P. 106

๑๐๕


                   ในฐานะประชาชน ธรรมดาสามัญ เราทั้งหลาย ณ ที่นี่ จึงร่วมกันประกาศปฏิญญา “สังคม-ชุมชนใหม่”ดังต่อไปนี้

                      (1)   เราจะกระท าทุกวิถีทางที่ชอบธรรมในการส่งเสริม   สนับสนุนความเข้มแข็ง   ภาคประชาชนในการเตรียม

                      ความพร้อมเข้าสู่การสร้างสังคม  ชุมชนใหม่  ที่เราสามารถก าหนดด้วยตัวเองอย่างมีเกียรติ์  ศักดิ์ศรีความเป็น
                      มนุษย์ ทั้งในฐานะที่เป็นศูนย์กลางและเป้าหมายของการพัฒนา

                      (2)   เราจักต่อสู้  ยืนหยัดอย่างต่อเนื่องและกล้าหาญในการปกป้อง  ผืนแผ่นดิน  มาตุภูมิของเรา,  การรุกราน  ยัด

                      เยียด การกระท าใดที่ปราศจากความชอบธรรม จะได้รับการตอบโต้ และต่อต้าน ในฐานะประชาชน สิทธิชุมชน
                      ความเป็นพลเมือง ในทุกการกระท าที่จ าเป็นเพื่อให้มั่นใจว่าเราจะไม่ได้เดือนร้อน เจ็บปวดเช่นที่ผ่านมา

                      (3)   เราขอยืนยันว่าในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคม เราทุกคนไม่ว่าจะเป็น ผู้หญิง เด็ก เยาวชน เกษตรกร กลุ่ม

                      ชาติพันธุ์  จะต้องได้รับการปกป้อง  คุ้มครอง  ปลอดพ้นจากเลือกปฏิบัติขุมขู่ คุกคาม ทุกรูปแบบ  อันรวมถึงการ
                      เลือกปฏิบัติใดๆอันเนื่องมาจากความแตกต่าง

                      (4)   เราได้ใคร่ครวญอย่างถ้วนถี่จากเส้นทางประวัติศาสตร์อันยาวนาน   จึงขอประกาศว่านับจากนี้พลังชีวิตทั้ง

                      มวลของพวกเราจะถูกปลดปล่อยออกมาอย่างสร้างสรรค์และมีสามัญส านึก  ส าหรับการสร้างสรรค์สังคม-ชุมชน
                      ใหม่ ที่เท่าเทียมและก าหนดโดยตัวเรา

                    (5)   เราทั้งหลายจะน าปฏิญญาสงขลา  สังคม-ชุมชนใหม่ที่เป็นได้  ออกสู่การปฏิบัติการและการเคลื่อนไหวทาง

                      สังคม เพื่อให้ได้ซึ่งสิ่งปรารถนา ในทุกระดับ ดังนี้

                         5.1 การใช้หลักศาสนาน าการพัฒนา ตามแนวทางเครือข่ายชุมชนศรัทธาหรือกัมปง ตักวา ด้วยรูปแบบการ
                         พัฒนา “สี่เสาหลัก” โดยมีแนวทางการขับเคลื่อนด้วยการสร้างพื้นที่สังคม   การปฏิบัติการ   และการ
                         สนับสนุนที่เหมาะสมจากภายนอก เพื่อให้สามารถสร้างความมั่นคงของชุมชนตามแนวทางศรัทธา


                         5.2 สิทธิกลุ่มทางวัฒนธรรมและกลุ่มชาติพันธุ์ จะต้องได้รับการคุ้มครองทั้งในฐานะที่เป็นสมาชิกของ
                         สังคม ความเป็นมนุษย์ มีศักดิ์ศรี  อิสระ  ความเท่าเทียม กับกลุ่มอื่นๆในสังคม  ปลอดพ้นจากการอคติ การ
                         รังเกียจ เบียดขับทางชาติพันธุ์ และการถูกกีดกันจากระบบทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม


                         5.3 เปิดพื้นที่เหมาะสมส าหรับหญิง-ชาย ในงานพัฒนา มีสิทธิอย่างเท่าเทียมในการเข้าร่วมอย่างแข็งขัน
                         ในการก าหนดนโยบาย การตัดสินใจ และการด าเนินการ การกดขี่ เอารัดเอาเปรียบ การใช้ความรุนแรงจะ

                         ได้รับปกป้อง คุ้มครองในทุกรูปแบบ

                         5.3  เด็กและเยาวชน  จะต้องมีหลักประกันในความเท่าเทียม  ปราศจากการแบ่งแยก  กีดกันใดๆ  อัน
                         เนื่องมาจากความแตกต่างด้านชาติพันธุ์  ภาษา  การเมือง  ศาสนาและวัฒนธรรม    และการส่งเสริมให้เด็ก

                         และเยาวชนได้แสดงบทบาทอย่างสร้างสรรค์ในการเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสังคม ชุมชนท้องถิ่น

                         5.4  ยุติและทบทวนแผนพัฒนาภาคใต้ทั้งระบบ  การด าเนินการใดๆที่ปิดกั้นการมีส่วนร่วม  และปราศจาการ
                         ยินยอมจากชุมชนท้องถิ่นจะได้รับการคัดค้าน ต่อต้านในระดับที่ทันกันอย่างที่สุด








                         รายงานโครงการประชุมวิชาการระดับชาติ  ชุมคน ชุมชน คนใต฾  ครั้งที่ ๓ เสียงจากผู฾ไร฾สิทธิชายแดนใต฾
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111