Page 102 - รายงานสรุปโครงการประชุมวิชาการระดับชาติ ชุมคน ชุมชน คนใต้ ครั้งที่ 3
P. 102

๑๐๑


                  รวมตัวกันของเครือข่ายเกษตรกรจังหวัดสตูลระปหว่างเกลอเขา  เกลอนา  และเกลอเล  เพื่อเรียนรู้นโยบายและ
                  แผนพัฒนาของภาครัฐในจังหวัดสตูล  เนื่องจากเกลอเลคือกลุ่มประมงชายฝั่ง  ตอนนี้ก าลังเผชิญหน้ากับโครงการ
                  ท่าเรือน้ าลึกปากบารา และเกลอเขาคือเครือข่ายป่าต้นน้ า ก าลังเผชิญหน้ากับโครงการเขื่อนทุ่งนุ้ย


                         “เราใช้หลักศาสนาอิสลามมาร่วมกันคิดร่วมกันแก้ปัญหา   ให้สามารถแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ของ
                  นายทุน  กับวิถีชีวิตที่ชุมชน  เราต้องคิดให้ได้ว่า  อะไรเหมาะสมกับพื้นที่ของตัวเอง  ตอนนี้เครือข่ายของเรามีการ
                  จัดตั้งกองทุนแพะเพื่อมนุษยชาติ มีนัยสื่อถึงความมั่นคงทางอาหารของโลกที่ก าลังวิกฤติ” นายอะบาร์ กล่าว


                         นายมาหาหมัด  นาซือรี  เมาตี  ตัวแทนจากเครือข่ายชุมชนศรัทธา  กล่าวต่อวงเสวนาว่า  ตนมองไม่เห็นว่า
                  รัฐบาลไหนจะแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้  และยังมองไม่เห็นโอกาสใดๆ  จากการเข้าสู่
                  ประชาคมอาเซียนในอีก 4 ปีข้างหน้า  มิหน าซ้ าอาจจะท าให้แย่กว่าเดิม  ตราบใดที่คนไทยยังไร้สิทธิไร้เสียง  โดยรัฐ
                  ก าหนดนโยบายแล้ว  น ามาบังคับใช้กดขี่ชาวบ้าน  ซึ่งเป็นการท าลายอัตลักษณ์ของคนท้องถิ่น  ทั้งทางตรงและ

                  ทางอ้อม ต่อสังคม วิถีชีวิตชุมชน และแนวทางการศึกษาของศาสนาอิสลาม

                         นายซอฮิบ เจริญสุข ตัวแทนจากเครือข่ายคนไทยพลัดถิ่น กล่าวต่อวงเสวนาว่า รัฐมองแต่ความมั่นคงของ
                  ชาติ  ไม่ได้มองถึงความมั่นคงของอาณาประชาราษฎร์  เช่น  เมื่อปี 2548 มีมติคณะรัฐมนตรีให้ส ารวจและจัดท าบัตร

                  ประจ าตัวประชาชนที่มีรหัสเลข 0 ให้คนไทยพลัดถิ่น   แต่กลับมีปัญหาการคอร์รัปชั่นใการส ารวจและจัดท าบัตร
                  ต่อมาก็มีมติให้ยกเลิกการท าบัตรดังกล่าว ท าให้คนไทยพลัดถิ่นไม่มีสิทธิแม้กระทั่งการแจ้งเกิด และการแจ้งตาย

                         นางสาวศุชาวรรณ  ประโมงกิจ  ตัวแทนจากกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล  กล่าวต่อวงเสวนาว่า  ปัญหาของกลุ่ม

                  ชาวเลคือ  ปัญหาที่อยู่อาศัยและที่ท ากินในพื้นที่ที่ทางภาครัฐประกาศเป็นอุทยาน  และพื้นที่ที่นายทุนเข้าไปท ารี
                  สอร์ท บ้านพักตากอากาศ แล้วออกเอกสารสิทธิ์ทับที่ดินที่ชาวเลอาศัยอยู่เดิม แม้กระทั่งสุสานฝังศพยังออกเอกสาร
                  สิทธิ์ได้ จนตอนนี้ชาวเลที่เกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล ต้องฝังศพใต้ถุนบ้าน


                         นายประยงค์  กงไกรจักร  ตัวแทนจากเครือข่ายป่าเขาและสิทธิชุมชน  แสดงความเห็นว่า  ผลจากเหตุการณ์
                  ภัยพิบัติที่ผ่านมาในภาคใต้ ท าให้เกิดปัญหาการโยกย้ายที่อยู่อาศัยและที่ท ากิน บ้างก็ถูกไล่ออกจากที่อยู่อาศัยและ
                  ที่ท ากิน โดยรัฐอ้างว่าเป็นที่ดินของรัฐ หรือมีคนอ้างเอกสารสิทธิ์ว่า ที่ดินตรงนั้นตรงนี้เป็นของตน


                         นายมัครอบี  บือราเฮง  ตัวแทนจากเครือข่ายชุมชนศรัทธา  กล่าวในวงเสวนาว่า  ขณะนี้สิทธิในการศึกษา
                  พูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประวัติศาสตร์ปัตตานีโดนปิดตาย ไม่สามารถแสดงออกได้ ใครที่อยากเรียนรู้ประวัติศาสตร์
                  ปัตตานี  ต้องไปเรียนที่ประเทศมาเลเซีย  แม้แต่การน าเสนอรายงานทางวิชาการสักชิ้นก็กลัวจะถูกมองว่า  เป็นแนว

                  ร่วมของขบวนการก่อความไม่สงบ
                  ที่มา : http://www.deepsouthwatch.org/node/2264











                         รายงานโครงการประชุมวิชาการระดับชาติ  ชุมคน ชุมชน คนใต฾  ครั้งที่ ๓ เสียงจากผู฾ไร฾สิทธิชายแดนใต฾
   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107