Page 101 - รายงานสรุปโครงการประชุมวิชาการระดับชาติ ชุมคน ชุมชน คนใต้ ครั้งที่ 3
P. 101

๑๐๐


                         เมื่อวันที่  12  กันยายน  2554  ที่หอประชุมอเนกประสงค์  มหาวิทยาลัยทักษิณ  วิทยาเขตสงขลา  อ าเภอ
                  เมือง   จังหวัดสงขลา   โครงการจัดตั้งศูนย์อิสลามศึกษาเพื่อบูรณาการ   คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
                  มหาวิทยาลัยทักษิณ ร่วมกับภาคีเครือข่ายอีก 12 องค์กร ร่วมกันจัดโครงการประชุมวิชาการระดับชาติ “ชุมคนชุมชน
                  คนใต้ครั้งที่  3  เสียงจากผู้ไร้สิทธิชายแดนใต้”  (Voices  of Voiceless:  from  the Southernmost People

                  in Thailand)  มีประชาชน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้  กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล  คนไทยพลัดถิ่น  เครือข่ายชุมชนในพื้นที่
                  นักวิชาการ  ผู้ทรงคุณวุฒิ  นักพัฒนาเอกชน  (NGOs)  นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยทักษิณ  และสื่อมวลชน  ร่วมงาน
                  ประมาณ 500 คน


                         เวลา  10.15  น. นางอังคณา  นีละไพจิตร ประธานมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ (Justice  for  Peace
                  Foundation) ได้บรรยายในหัวข้อ   “สันติสุขและการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม”   ว่า   ปัญหาการแย่งชิง
                  ทรัพยากรของรัฐจากชาวบ้าน  ในจังหวัดปัตตานี  จังหวัดยะลา  และจังหวัดนราธิวาส  อาจเป็นอีกจุดหนึ่งของความ

                  ขัดแย้งใน  3  จังหวัดชายแดนภาคใต้  โดยเฉพาะที่อ าเภอบันนังสตา  จังหวัดยะลา  ซึ่งชาวบ้านไม่มีที่ดินท ากิน  อัน
                  เป็นผลกระทบจากการสร้างเขื่อนบางลาง  เมื่อปี 2519 หมู่บ้านดั้งเดิมที่นมีทั้งมัสยิดและกุโบร์ต้องจมน้ าอยู่ใต้เขื่อน
                  ในขณะที่รัฐไม่เคยให้อะไรตอบแทนตามที่เคยสัญญาเอาไว้ จนชาวบ้านมองว่า รัฐเป็นผู้รุกรานชาวบ้าน


                         นางอังคณา  บรรยายต่อไปว่า  ล่าสุดเกิดกรณีปัญหาหอยแครง  ที่ชาวประมงชายฝั่งรอบอ่าวปัตตานีโดน
                  จับกุมด าเนินคดี   จากการต่อสู้กับกลุ่มทุนท้องถิ่น   ที่เข้ามายึดอ่าวปัตตานี   ซึ่งเป็นพื้นที่ท าประมงไปท าฟาร์ม
                  หอยแครง ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น รัฐควรสนใจปัญหาของชาวบ้าน มากกว่าที่จะสนใจ
                  ผลักดันเมกะโปรเจ็กต์ หรือพูดถึงแต่การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน


                         นางอังคนา บรรยายอีกว่า อีกหนึ่งตัวแปรส าคัญคือ อิทธิพลเถื่อน ยาเสพติด สิ่งผิดกฏหมาย การค้ามนุษย์
                  ที่เติบโตในบริเวณชายแดนเร็วมาก   ปัจจุบันจังหวัดปัตตานีมีบ่อนพนันเกลื่อนกลาด   ข้อมูลจากส านักงาน
                  คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดระบุว่า  มีคนติดยาเสพติด 50,000 คน  มีผู้ต้องการบ าบัด  20,000คน

                  แต่สถานบ าบัดยาเพสติดกลับมีไม่เพียงพอที่จะรองรับ ชาวบ้านส่วนมากจึงใช้วิธีเลิกยาเสพติดด้วยการหักดิบ

                         “ดิฉันเคยศึกษาวิจัยพบว่า เด็กอายุต่ ากว่า 18 ปี จับอาวุธเป็นชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.)สูงถึง
                  ร้อยละ 65 บางรายอายุไม่ถึง 13 ปี  ก็ใช้อาวุธสงครามได้  เด็กกลุ่มนี้จะตกเป็นเครื่องมือของกลุ่มก่อความไม่สงบ

                  หรือไม่ก็ตกเป็นเครื่องมือของกลไกรัฐ” นางอังคนา กล่าว

                         ต่อมา   เวลา 10.15 น.   นางแยน๊ะ   สะแลแม   ตัวแทนเครือข่ายสตรีเหยื่อเหตุการณ์ตากใบ จังหวัด
                  นราธิวาส เจ้าของรางวัลนักปกป้องสิทธิมนุษยชน  ได้ปาฐกถาพิเศษเรื่องเสียงจากผู้ไร้สิทธิว่า  ตนเข้ามาเคลื่อนไหว
                  ด้านสิทธิมนุษยชน   เนื่องจากลูกชายถูกจับกุมในเหตุการณ์สลายชุมนุมที่อ าเภอตากใบ   จังหวัดนราธิวาส   จน

                  กลายเป็นผู้ประสานงานระหว่างทนายความกับญาติของผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์   กระทั่งสามีของตนโดนยิงเสียชีวิต
                  ในเวลาต่อมา

                         “ฉันถูกเจ้าหน้าที่มองว่า   เป็นแนวร่วมของขบวนการแบ่งแยกดินแดน   ต้องโทรศัพท์ไปยังองค์กรสิทธิ

                  มนุษยชน  และองค์กรพัฒนาภาคเอกชนต่างๆ  จนเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องมาขอโทษ  ในรอบ 7 ปีที่ผ่านมา  ฉันถูก
                  เจ้าหน้าที่ของรัฐตรวจค้นบ้านทุกปี” นางแยน๊ะ กล่าว

                         เวลา 10.30 น. มีการเสวนาเรื่องเสียงจากผู้ไร้สิทธิ: สิทธิประชาชนที่จะก าหนดอนาคตตนเอง” โดยนายอะ

                  บาร์ อุเส็น ตัวแทนเครือข่ายอิควะฮ์เปอร์ตาเนียนสโตย กล่าวเสวนาว่า เครือข่ายอิควะฮ์เปอร์ตาเนียนสโตย เป็นการ
                         รายงานโครงการประชุมวิชาการระดับชาติ  ชุมคน ชุมชน คนใต฾  ครั้งที่ ๓ เสียงจากผู฾ไร฾สิทธิชายแดนใต฾
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106