Page 104 - รายงานสรุปโครงการประชุมวิชาการระดับชาติ ชุมคน ชุมชน คนใต้ ครั้งที่ 3
P. 104
๑๐๓
ใหม่ที่เป็นไปได้ โดยมีแนวทางสู่การปฏิบัติการและการเคลื่อนไหวทางสังคม 5 แนวทาง คือ การใช้หลักศาสนาน า
การพัฒนา สิทธิกลุ่มทางวัฒนธรรมและกลุ่มชาติพันธุ์ จะต้องได้รับการคุ้มครอง เปิดพื้นที่เหมาะสมส าหรับหญิง-
ชายในงานพัฒนา เด็กและเยาวชน จะต้องมีหลักประกันในความเท่าเทียม ยุติและทบทวนแผนพัฒนาภาคใต้ทั้ง
ระบบ และปฏิเสธการจัดการศึกษาแบบดิ่งเดียวหรือรูปแบบเดียว
ส าหรับการระดมความคิดเห็นกลุ่มย่อยสมัชชาประชาชน”ว่าด้วยเสียงผู้ไร้สิทธิ” มี 3 ประเด็น คือ
ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ การเมืองภาคพลเมืองภาคใต้ และปัญหาภาคใต้
นายแวรอมลี แวบูละ ที่ปรึกษาเครือข่ายชุมชนศรัทธา กล่าวในกลุ่มการพัฒนาและการปรับตัวของชุมชน
ชายแดนใต้ ในประเด็นปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ถึงการเกิดขึ้นของชุมชนศรัทธาว่า การพัฒนาต้องเดินไปพร้อม
กับความสามัคคีและการปรับตัวให้เข้ากับสังคม จึงเกิดแนวคิดในการแก้ไขปัญหาด้วยการพึ่งพาตนเอง โดยได้รับ
การสนับสนุนจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมถึงภาคประชาสังคมอื่นๆ ที่ร่วมกันเป็นเครือข่ายในการสร้าง
ความยุติธรรมและเยียวยาผลกระทบจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
นายแวรอมลี กล่าวว่า กระบวนการจัดการในหมู่บ้าน ผู้น าหรือชุมชนต้องมีความเข้าใจปัญหา โดยอยู่ใน
กรอบของศาสนา จึงเกิดแนวปฏิบัติที่เป็นนวัตกรรมใหม่และกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้นเยอะมาก ถือเป็นแนวทางส าคัญ
ในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบ เช่น กิจกรรมการสอนอ่านค าภีร์อัลกุรอ่านแบบกีรออาตีในเครือข่ายชุมชนศรัทธาที่
อ าเภอกาบัง จังหวัดยะลา ก าลังขยายตัวเพิ่มเป็น 3 พื้นที่ มีคนเข้าร่วมกว่า 700 คน ซึ่งช่วยพัฒนาคุณภาพทางด้าน
ศาสนาของเด็กได้ดีขึ้นมากกว่าเดิม จากงบประมาณเพียง 100,000 บาท จึงอยากให้รัฐบาลส่งเสริมในเรื่องนี้ให้มาก
ขึ้นกว่าเดิม
“กว่า 3,000 หมู่บ้านใน 3 จังหวัดชายแดนใต้และ 4 อ าเภอของจังหวัดสงขลา หากมีการขับเคลื่อน
เครือข่ายชุมชนศรัทธาหรือชุมชน“ตักวา” จะท าให้สามารถพัฒนาชุมชนได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นการน าหลักการ
ทางศาสนามาเป็นตัวน าในการพัฒนา” นายแวรอมลี กล่าว
นายแวรอมลี กล่าวอีกว่า นโยบายของรัฐบาลหลายอย่างดีแล้ว แต่การปฏิบัติการล้มเหลว โดยเฉพาะเรื่อง
การแก้ปัญหายาเสพติด ซึ่งเป็นปัญหาหลักในจังหวัดชายแดนใต้ ขณะเดียวกันก็ยังขาดการพัฒนา จึงต้องการให้
รัฐบาลเหลียวแลประชาชนให้มากขึ้น เช่น การยกระดับและพัฒนาศักยภาพของ คน ศาสนา วัฒนธรรม เศรษฐกิจ
อาชีพ ที่ดินท ากิน ที่อยู่อาศัยที่ การมีส่วนรวมของชุมชน เป็นต้น
นางพาฮีสะ ท้วมงาน อาสาสมัครชุมชนศรัทธา กล่าวในประเด็นปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ ในกลุ่ม
นโยบายการพัฒนาของภาครัฐกับผลกระทบชุมชนชายแดนใต้ ที่ห้อง 15202 อาคารเรียนรวม 15 มหาวิทยาลัย
ทักษิณ วิทยาเขตสงขลาว่า พื้นที่หมู่ที่ 4 ชุมชนวังกระ ต าบลตาเซะ อ าเภอเมือง จังหวัดยะลา เป็นพื้นที่หนึ่งที่ได้รับ
ผลกระทบจากโครงการพัฒนาของรัฐ เนื่องจากหลังจากมีการสร้างเขื่อนปัตตานีขึ้น ท าให้พื้นที่ชุมชนวังกระเป็น
พื้นที่อ่างเก็บน้ าของเขื่อนปัตตานี
“ผลของการสร้างก าแพงกั้นน้ าที่ไม่ได้มาตรฐาน ส่งผลให้เกิดอุทกภัยในพื้นที่ชุมชนวังกระถึงปีละ 2ครั้ง
ท าให้ชาวบ้านไม่สามารถท านาได้ จนกลายเป็นนาร้างอยู่หลายปี แต่เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา ชาวบ้านพยายามฟื้นฟูนา
ร้างขึ้นมา แต่สามารถท านาได้เพียงปีละครั้งเท่านั้น” นางพาฮีสะกล่าว
รายงานโครงการประชุมวิชาการระดับชาติ ชุมคน ชุมชน คนใต ครั้งที่ ๓ เสียงจากผูไรสิทธิชายแดนใต