Page 108 - รายงานสรุปโครงการประชุมวิชาการระดับชาติ ชุมคน ชุมชน คนใต้ ครั้งที่ 3
P. 108
๑๐๗
การเมือง : ทัศนะวิจารณ์
วันที่ 16 กันยายน 2554 02:00
พลังชุมชน - พลังผู้ไร้สิทธิ
โดย : อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์
ผมได้รับเกียรติให้เข้าร่วมการสัมมนา ชุมคน ชุมชน คนใต้ ครั้งที่ 3 เรื่อง พลังชุมชน-พลังผู้ไร้สิทธิกับ
การสร้างการเปลี่ยนแปลงจากข้างล่าง
ที่มหาวิทยาลัยทักษิณ โครงการจัดตั้งศูนย์อิสลามศึกษาเพื่อการบูรณาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็น
ผู้จัดการสัมมนา (เนื่องจากมีเครือข่ายสนับสนุนมากมายหลากหลาย หากเขียนในที่นี้คงกินพื้นที่มาก จึงขอให้ท่านไป
ตามดูเอาเองในเว็บไซต์ของโครงการจัดตั้งศูนย์อิสลามศึกษาเพื่อการบูรณาการ มหาวิทยาลัยทักษิณเองนะครับ)
หัวใจของการสัมมนา ได้แก่ การท าเสียงของผู้ไร้สิทธิ (Voice of The voiceless) ได้รับการฟังมากขึ้นนั้นไม่ใช่
เพราะสังคมได้ยินเอง หากเป็นเพราะเสียงของผู้ไร้สิทธิเป็นเสียงแห่งความชอบธรรมในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเท่า
เทียมกันและเสียงแห่งความชอบธรรมย่อมได้รับการได้ยินเสมอ เพื่อน าไปสู่การแก้ไขปัญหาการลดคุณค่าความเป็น
มนุษย์
การสัมมนาได้เปิดพื้นที่ทางความคิดในสามประเด็นด้วยกัน ประเด็นแรก ได้แก่ การท าให้เห็นถึงความหลากหลาย
ของการ ต่อสู้/ต่อรอง ในชีวิตทางสังคมชายใต้ภาคใต้ ซึ่งมีทั้งการ ต่อสู้ ของผู้หญิงและ การสร้างความเข้าใจใหม่ โดยที่
การต่อสู้ของผู้หญิงเป็นการต่อสู้กับ ความกลัว ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่คุกรุ่นไปด้วยความรุนแรงซึ่งผู้หญิงได้สร้างบทบาทใน
พื้นที่สาธารณะ เช่น วิทยุชุมชน หรือในวรรณกรรม เพื่อสร้าง ความเข้าใจใหม่ ในชุมชนและสังคมมากขึ้น
การสร้างความเข้าใจใหม่ของชุมชนในพื้นที่ปรากฏให้เห็นเด่นชัดในการดึงเอาหลักการทางศาสนาและความร่วมมือ
กันของคนในชุมชนมาประกอบสร้างการท ากิจกรรมเพื่อสังคมร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาถึง โรงเรียนวิถีอิสลาม
การศึกษาพื้นที่การศึกษา ปอเนาะดาแล และที่ส าคัญได้แก่ การสร้างสรรค์ ชุมชนตักวา หรือชุมชนศรัทธา
ประเด็นที่สอง ได้แก่ การแสวงหาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เผชิญทั้งในระดับชีวิตประจ าวันและชีวิตของสังคม ซึ่ง
ในการศึกษาเพื่อแสวงหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาไม่ได้เน้นที่การยุติภาวการณ์สู้รบในพื้นที่เท่านั้น แต่หากดึงไปสู่การ
ปรับชีวิตประจ าวันให้มีความหมายเชื่อมโยงต่อสังคม/ชุมชนให้มากขึ้น
ประเด็นที่สาม ได้แก่ การศึกษาถึงปฏิบัติการที่มีต่อเสียงของผู้ไร้เสียงที่ดังมากขึ้น ซึ่งมีการศึกษาที่น่าสนใจมาก
หลายเรื่องด้วยกัน ที่ส าคัญ ได้แก่ ความเปลี่ยนแปลงในการ คืนความยุติธรรม ให้แด่ชุมชนโดยรัฐ ซึ่งพบว่ามีความ
พยายามของรัฐที่จะสร้าง ความเชื่อมั่น และ ความไว้เนื้อเชื่อใจ (บทความหนึ่งเน้นการศึกษาเชิงกรอบคิดในเรื่องนี้
โดยเฉพาะและอีกบทความหนึ่งเน้นการสร้างกรอบความคิดทางสังคมศาสตร์เพื่อเข้าใจปัญหาชายแดนภาคใต้) ให้เกิดขึ้น
ในพื้นที่หลายรูปแบบ เช่น ศูนย์ยุติธรรมหมู่บ้าน เป็นต้น
ในประเด็นนี้ มีการศึกษาความเปลี่ยนแปลงทัศนคติของระบบราชการ/กองทัพต่อปัญหาความรุนแรงในเขตพื้นที่
สามจังหวัดจากที่เคยมองว่าเป็นปัญหาการแบ่งแยกดินแดนก็เริ่มหันมาสู่การท าความเข้าใจปัญหาของความอยุติธรรมใน
พื้นที่ ซึ่งสอดคล้องไปกับความพยายาม คืนความยุติธรรม ให้แก่ชุมชนโดยรัฐ
ขณะเดียวกัน การตอบสนองต่อปัญหาความรุนแรงที่ขยายตัวมากขึ้นไม่ได้จ ากัดอยู่เฉพาะรัฐเท่านั้น ในระดับสังคม
เองก็ได้มีปฏิบัติการต่อ เสียงของผู้ไร้เสียง ที่ดังมากขึ้น ได้แก่ ความเปลี่ยนแปลงของการสร้าง อัตลักษณ์ใหม่ ผ่านเรื่อง
เล่าเรื่อง ลิ้มกอเหนี่ยว ซึ่งเดิมผนวกเอาการสาปแช่งเข้ามาเป็นสาเหตุทางประวัติศาสตร์ แต่ขณะนี้ ได้เริ่มใช้กรอบการ
อธิบายเชิงประจักษ์มาใช้ ซึ่งสมเหตุสมผลของประวัติศาสตร์มนุษย์มากกว่า (ททท. ต้องเลิกโฆษณา ลิ้มกอเหนี่ยว ฉบับ
ค าสาปแช่งทันที เพราะพวกคุณท าให้เรื่องเล่าเหนือธรรมชาติกลายเป็น ประวัติศาสตร์ พวกคุณผิดร้อยเปอร์เซ็นต์)
การแปรเปลี่ยน ความทรงจ า ให้กลายเป็นประวัติศาสตร์เป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังกันให้จงหนัก เพราะไม่อย่างนั้น
แล้วจะส่งผลที่ไม่อาจจะคาดคิดได้ (โปรดอ่านการแปรเปลี่ยนนี้ในบทความของอาจารย์พิเชษฐ แสงทอง ม.อ.ปัตตานี)
รายงานโครงการประชุมวิชาการระดับชาติ ชุมคน ชุมชน คนใต ครั้งที่ ๓ เสียงจากผูไรสิทธิชายแดนใต