Page 9 - คู่มือปฏิบัติงาน-การใช้ประโยชน์จากกลไกล
P. 9

นอกจากการประชุมของประเทศสมาชิก HRC แล้ว ยังมีกลไกอื่นที่สนับสนุนการด าเนินงาน

               ของ HRC ดังนี้

              สามารถอ่านรายละเอียดของโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ของกลไกภายใต้ HRC ได้จากข้อมติของ HRC ที่ 5/1

              เรื่อง Institution Building http://www.ohchr.org/EN/HRBodies/HRC/Pages/AboutCouncil.aspx


                        คณะกรรมการที่ปรึกษา (Advisory Committee)

                      ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ 18 คน ตามสัดส่วนของภูมิภาค จากการเสนอชื่อของประเทศ

               สมาชิกและคัดเลือกโดย HRC มีหน้าที่ให้ความเห็นหรือค าปรึกษาแก่ HRC ถึงเรื่องความรู้และ
               ทิศทางในการด าเนินงาน ประชุมปีละ 2 ครั้งในเดือนกุมภาพันธ์และสิงหาคม ประเด็นที่ก าลัง

               อยู่ในระหว่างการศึกษาในปัจจุบัน (ณ พฤษภาคม 2561) ที่น่าสนใจ อาทิ สิทธิมนุษยชนใน

               กระบวนการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภายใต้หัวข้อ นโยบายระดับชาติและสิทธิมนุษยชน (National

               policies and human rights) บทบาทความร่วมมือกับกลไกสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาค ภายใต้

               หัวข้อ กลไกการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในระดับภูมิภาค (Regional arrangements

               for the promotion and protection of human rights) ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนจาก

               การไม่คืนเงินที่ผิดกฎหมายกลับไปยังประเทศต้นทาง (Negative impact of the non-

               repatriation of illicit funds on the enjoyment of human rights) เป็นต้น


                สามารถอ่านรายละเอียดเรื่องที่คณะกรรมการที่ปรึกษาก าลังด าเนินการตามที่ได้รับมอบหมายจาก HRC ได้ที่

                http://www.ohchr.org/EN/HRBodies/HRC/AdvisoryCommittee/Pages/Mandates.aspx



                         กลไกเรื่องร้องเรียน (Complaint Procedure)
                      กลไกเรื่องร้องเรียนประกอบด้วยคณะท างาน 2 ชุด ได้แก่ คณะท างานด้านการร้องเรียน

               (Working Group on Communications) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญจากภูมิภาคต่าง ๆ จ านวน 5 คน
               แต่งตั้งโดยคณะที่ปรึกษา มีหน้าที่ในการพิจารณาในการรับ-ไม่รับเรื่องร้องเรียน รวมถึงการรวบรวม

               เรื่องร้องเรียนหากเห็นว่าท าให้เห็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบ ในกรณีที่รับเป็นเรื่อง
               ร้องเรียน คณะท างานฯ จะด าเนินการเป็นการลับเนื่องจากวิธีการท างานจะมุ่งแสวงหาความ

               ร่วมมือจากรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหา โดยข้อมูลการร้องเรียนจะถูกส่งไปยังรัฐบาลที่ถูกอ้างว่ามีการ
               ละเมิดสิทธิมนุษยชนเพื่อให้ข้อมูล/ความเห็น หลังจากนั้น จะส่งข้อมูลพร้อมความเห็นไปยัง

               คณะท างานด้านสถานการณ์ (Working Group on Situations) ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ

               จากภูมิภาคต่าง ๆ 5 คน เช่นกัน มีหน้าที่ในการพิจารณาเรื่องร้องเรียนจากข้อมูลที่ได้รับ
               หากพบว่าเป็นเรื่องที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างสม่ าเสมอหรือเป็นระบบ คณะท างานจะ

               เสนอรายงานต่อ HRC พร้อมข้อเสนอแนะในการด าเนินการ


                                                                                                 หน้า ๙
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14