Page 14 - คู่มือปฏิบัติงาน-การใช้ประโยชน์จากกลไกล
P. 14
วิธีการด าเนินงานของ mandate holders มีหลายรูปแบบ เช่น การเดินทางไปเก็บข้อมูล
ในประเทศต่าง ๆ (country visit) โดยต้องได้รับค าเชิญและความยินยอมให้ไปเยือนจากรัฐบาล
ของประเทศนั้น เพื่อไปพบหารือและเก็บข้อมูลทั้งจากผู้แทนรัฐบาล องค์การเอกชน การลงพื้นที่
เพื่อพบประชาชนที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงการหารือกับสถานบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติหาก
ประเทศนั้น ๆ จัดตั้งขึ้น หลังจากนั้น จะให้ข้อเสนอแนะและติดตามความก้าวหน้าในการปฏิบัติ
ตามข้อเสนอแนะของประเทศที่ไปเยือน
นอกจากนี้ mandate holders ยังส่งค าถามไปยังรัฐบาลประเทศต่าง ๆ และองค์กรอื่น
เพื่อขอทราบข้อมูล รวมถึงการรับพิจารณาเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับอ านาจหน้าที่และสอบถาม
ข้อมูลไปยังรัฐบาลได้ หากเรื่องนั้นไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของกลไกอื่นภายใต้ระบบ
สหประชาชาติ เช่น คณะกรรมการประจ าสนฺธิสัญญา (Treaty Bodies) และ mandate
holders สามารถจัดการประชุมปรึกษาหารือกับฝ่ายต่าง ๆ สร้างความตระหนัก ตลอดจนเสนอ
พัฒนากฎหมายระหว่างประเทศ/มาตรฐานสากลด้านสิทธิมนุษยชนในเรื่องนั้น ๆ หากเห็นว่า
จ าเป็นได้ ทั้งนี้ กลไกตามกระบวนการพิเศษส่วนใหญ่จะเสนอรายงานผลการด าเนินงานต่อ HRC
ทุกปี และอาจรวมถึงเสนอรายงานต่อ UNGA ด้วย
สามารถอ่านข้อมติของ CHR และ HRC เกี่ยวกับเรื่องที่กลไกพิเศษด าเนินการได้ที่
http://spinternet.ohchr.org/_Layouts/SpecialProceduresInternet/ViewAllCountryMandates.aspx?T
ype=TM
การใช้ประโยชน์จากกลไกสิทธิมนุษยชนตามกฎบัตรสหประชาชาติ
1. ใช้อ้างอิงหลักการ/แนวทาง/มาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ มาประกอบการวิเคราะห์หรือ
การตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับประเทศไทย
2. กรณีที่มีผู้ร้องเรียนต่อกลไกเรื่องร้องเรียน ควรได้รับทราบและติดตามผล ตลอดจนข้อเสนอแนะของกลไกที่มีต่อ
รัฐบาลไทย (กรณีที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน) ว่าได้มีการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะและมีการเยียวยาที่เหมาะสม
หรือไม่ อย่างไร
3. ในกระบวนการ UPR ควรติดตามความก้าวหน้าเรื่องที่รัฐบาลรับข้อเสนอแนะที่จะด าเนินการ รวมทั้ง pledges
ที่ประกาศไว้
4. กรณีที่มีรายงานของผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ กล่าวถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ควรได้ติดตามตรวจสอบ
ข้อเท็จจริง และหากเห็นว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ควรได้ติดตามให้รัฐด าเนินการแก้ไข และ/
หรือปฏิบัติตามข้อเสนอแนะ รวมถึงกรณีที่ mandate holders เดินทางมาเยือนไทยและมีข้อเสนอแนะ ตลอดจน
กรณีที่มีการร้องเรียนปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยต่อกลไกพิเศษ (Special Procedures)
4. รับทราบแนวโน้มปัญหาสิทธิมนุษยชนใหม่ ๆ ตลอดจนการพัฒนากฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศใหม่
ในอนาคต
หน้า ๑๔