Page 13 - คู่มือปฏิบัติงาน-การใช้ประโยชน์จากกลไกล
P. 13

ข้อมูลเกี่ยวกับการน าเสนอรายงาน UPR ของประเทศไทยทั้งในรอบแรกและรอบที่สอง

               สามารถเข้าดูข้อมูลได้ที่ http://www.ohchr.org/EN/HRBodies/UPR/Pages/THindex.aspx
               ซึ่งจะประกอบด้วย รายงานของรัฐบาล (National report) ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับประเทศไทยที่

               สหประชาชาติประมวลไว้ (Compilation of UN information) ค าถามที่ยื่นต่อรัฐบาลไทยก่อน
               การน าเสนอรายงาน (Questions submitted in advance) ผลการประเมินสถานการณ์

               (Outcome of the review)
                       กสม. ในฐานะสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (NHRIs) สามารถมีบทบาทได้ทั้งในช่วงการ

               เตรียมรายงานของประเทศ การให้ข้อมูลที่สะท้อนความเป็นจริงกับรัฐบาล การจัดท ารายงานที่เป็น

               อิสระเสนอต่อสหประชาชาติ การเข้าร่วมในกระบวนการน าเสนอรายงานของประเทศ ตลอดจน

               ติดตามการด าเนินงานตามข้อเสนอแนะที่รัฐบาลได้รับไว้ รวมถึง pledge ของรัฐบาล หลังเสร็จสิ้น

               กระบวนการ UPR ในแต่ละรอบ ดูรายละเอียดของบทบาท NHRIs ในกระบวนการ UPR ได้ที่

               http://www.ohchr.org/Documents/HRBodies/UPR/InfoNoteNHRIUPR2ndCycle.pdf




             รายงานของคณะท างานฯ ซึ่งเป็นผลการประเมินสถานการณ์ (Outcome of the review) ส าหรับ
             ประเทศไทย (รอบที่ 2) ในรายงานตั้งแต่หน้า 23 เป็นต้นไป ภายใต้หัวข้อ III. Voluntary pledges

             and commitments จะระบุว่ารัฐบาลไทยรับที่จะด าเนินการในเรื่องใดและเสนอจะท าเพิ่มเติมใน

             เรื่องใด ซึ่งสามารถน ามาใช้ในการติดตามและประเมินการด าเนินงานของรัฐบาลได้ว่าด าเนินการและ

             มีความก้าวหน้ามากน้อยเพียงใด สามารถเข้าดูข้อมูลรายงานได้ที่


             https://documents-dds-ny.un.org/doc/UNDOC/GEN/G16/154/74/PDF/G1615474.pdf?OpenElement



                        กลไกตามกระบวนการพิเศษ (Special Procedures)

                       HRC มีกลไกพิเศษในการช่วยศึกษาประเด็นหรือสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของ
                ประเทศที่มีปัญหาและจัดท ารายงาน รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะต่อ HRC ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะ


               ของเรื่องที่ด าเนินการได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในด้านต่าง ๆ

               (thematic issues) และสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศหนึ่งใด (country-specific

               situation) โดยผู้ด ารงต าแหน่งหรือที่ได้รับมอบหมาย (mandate holders) อาจเป็นในรูปของ

               ผู้เชี่ยวชาญ หรือคณะผู้เชี่ยวชาญ หรือเป็นคณะท างานในชื่อต่าง ๆ เช่น Special Rapporteur,

               Independent Expert, Working Group ซึ่งมาจากการเสนอชื่อ คัดเลือก หรือแต่งตั้ง ปัจจุบัน

               HRC มีกลไกพิเศษด้านสถานการณ์สิทธิมนุษยชนกว่า 40 เรื่อง และกลไกด้านสถานการณ์ของ
               ประเทศต่าง ๆ กว่า 10 ประเทศ

                                                                                                หน้า ๑๓
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18