Page 8 - คู่มือปฏิบัติงาน-การใช้ประโยชน์จากกลไกล
P. 8
องค์กรหลักของสหประชาชาติข้างต้นจะปฏิบัติงานอยู่ที่ส านักงานสหประชาชาติ ณ
นครนิวยอร์ก แต่กลไกที่ด าเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนโดยตรงจะตั้งอยู่ที่ส านักงานฯ ณ นครเจนีวา
ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มตามที่มาและอ านาจหน้าที่ในการปฏิบัติงาน ได้แก่ กลไกตามกฎบัตร
สหประชาชาติ และกลไกตามสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน
กลไกตามกฎบัตรสหประชาชาติ: วิธีการใช้ประโยชน์
กลไกตามกฎบัตรสหประชาชาติ (Charter-based mechanisms) หมายถึง กลไกที่
จัดตั้งขึ้นตามที่ได้รับอาณัติจากกฎบัตรสหประชาชาติ ประกอบด้วย
คณะมนตรีสิทธิมนุษยชน (Human Rights Council - HRC)
HRC พัฒนาจากคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน (Commission on Human Rights Commission -
CHR) ที่ ECOSOC ตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1946 ตามมาตรา 68 ของกฎบัตรสหประชาชาติ โดยที่การท างาน
ของ CHR มักถูกแทรกแซงจากการเมืองระหว่างประเทศสูง ท าให้ขาดประสิทธิผลในการตรวจสอบ
ก ากับดูแลสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศต่าง ๆ อย่างเท่าเทียมทั่วถึง จึงเป็นสาเหตุหนึ่งให้มี
การปฏิรูปมาเป็น HRC ในปี ค.ศ. 2006 โดยมีสถานะเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล เป็นองค์กรย่อย
(subsidiary organ) ของ UNGA ประกอบด้วยประเทศสมาชิกที่ได้รับการเลือกตั้งจากภูมิภาคต่าง ๆ
จ านวน 47 ประเทศ มีวาระ 3 ปี โดยจะประชุมปีละ 3 ครั้ง เพื่อพิจารณาเรื่องการป้องกันการละเมิด
และการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในรูปของข้อมติ ข้อมติของ HRC มีสถานะเป็น soft law
ข้อมติของ HRC สามารถใช้อ้างอิงในการท างานได้
เช่นเดียวกับข้อมติของ UNGA อย่างไรก็ดี แม้ว่า HRC
จะเป็นกลไกที่ด าเนินงานโดยตรงในเรื่องสิทธิมนุษยชนของ
สหประชาชาติ แต่สมาชิก HRC มีจ านวน 47 ประเทศซึ่ง
ต่างจากข้อมติของ UNGA ที่เป็นความเห็นชอบจาก
สมาชิกส่วนใหญ่หรือทั้งหมดของสมัชชาสหประชาชาติ
ข้อมติของการประชุม HRC ในสมัยต่าง ๆ เข้าดูได้ที่
http://www.ohchr.org/EN/HRBodies/HRC/Regular
Sessions/Pages/RegularSessions.aspx ข้อมติล่าสุด
มักจะเป็นสถานการณ์ที่เป็นปัจจุบันกว่า และในหน้าเพจ
ดังกล่าว จะมีรายงานที่เป็นข้อมูลหรือความเห็นที่
เกี่ยวข้องกับข้อมติ ตลอดจนท่าที/ข้อมูลของรัฐบาล
NGOs สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ส่งไปยัง HRC
ประกอบการพิจารณาในวาระนั้น ภายใต้หัวข้อ
documentation
หน้า ๘