Page 10 - คู่มือปฏิบัติงาน-การใช้ประโยชน์จากกลไกล
P. 10
กลไกจะรับเรื่องร้องเรียนจากบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การเอกชน ที่อ้างว่าเป็นเหยื่อหรือ
รู้เห็นว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชน หากมีข้อมูลที่น่าเชื่อเพียงพอว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้น
โดยเรื่องร้องเรียนนั้นต้องไม่มีเจตนาที่ไม่สุจริต ไม่ด าเนินการเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง ไม่ใช้
ถ้อยค าที่ไม่สุภาพ ไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของกลไกสิทธิมนุษยชนอื่นของสหประชาชาติ
ต้องเปิดเผยชื่อผู้ร้อง และเงื่อนไขส าคัญประการหนึ่งคือ ผู้ร้องจะต้องใช้กลไกภายในประเทศให้
เสร็จสิ้นเสียก่อน (exhaust domestic remedies) หรือเชื่อได้ว่าการเยียวยาภายในประเทศ
จะล่าช้าหรือไม่มีประสิทธิผล อนึ่ง ประเทศที่มีสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่สอดคล้องกับ
หลักการปารีสและมีอ านาจกึ่งตุลาการ (quasi-judicial) น่าจะเป็นกลไกแก้ไขปัญหาการ
ละเมิดสิทธิมนุษยชนภายในประเทศได้ แต่ยังไม่ได้มีการระบุชัดเจนว่าต้องใช้กระบวนการนี้ก่อน
โดยที่การด าเนินการของกลไกรับและพิจารณาเรื่องร้องเรียนจะกระท าเป็นการลับ จึงไม่มี
ข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะ อย่างไรก็ดี สหประชาชาติได้แต่งตั้งกลไกใหม่ขึ้นมาที่มีความเป็น
อิสระ เพื่อไต่สวน ค้นหาข้อเท็จจริง หรือสอบสวน ให้เกิดความรวดเร็วในกรณีที่เกิดสถานการณ์ที่
เห็นว่ามีการละเมิดกฎหมายสิทธิมนุษยชนและกฎหมายมนุษยชนธรรมระหว่างประเทศอย่าง
รุนแรง โดยอาจได้รับการแต่งตั้งจาก UNSC, UNGA, HRC เลขาธิการสหประชาชาติ หรือ
ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ปัจจุบัน มีกลไกดังกล่าวส าหรับสถานการณ์ใน
ประเทศเยเมน Kasaï DRC (คองโก) เมียนมาร์ บุรุนดี ซีเรียและซูดานใต้ ดูรายละเอียดได้ที่
http://www.ohchr.org/ EN/HRBodies/HRC/Pages/COIs.aspx
ข้อมูลเรื่องการร้องเรียนต่อรัฐบาลไทยที่อยู่ในการพิจารณาของกลไกเรื่องร้องเรียนนั้น แม้ว่า
จะไม่เป็นที่เปิดเผยโดยทั่วไป แต่ กสม. อาจสอบถามข้อมูลไปยังกระทรวงการต่างประเทศได้
โดยอาศัยหน้าที่และอ านาจตาม พ.ร.ป. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560
กลไกสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญ (Subsidiary Expert Mechanisms)
เป็นกลไกในรูปคณะท างานหรือเวทีการประชุมหารือเพื่อสนับสนุน HRC ในด้านข้อมูล
วิชาการและความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ โดยจะเสนอผลการด าเนินงานเป็นรายงานต่อที่
ประชุม HRC ทุกปี กลไกที่มีอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ กลไกผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิของชนพื้นเมืองดั้งเดิม
(Expert Mechanism on the Rights of Indigenous People) เวทีด้านชนกลุ่มน้อย (Forum
on Minority Issues) เวทีด้านประเด็นสังคม (Social Forum) เวทีด้านธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน
(Forum on Business and Human Rights) และเวทีด้านสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตยและ
นิติธรรม (Forum on Human Rights, Democracy and the Rule of Law)
หน้า ๑๐