Page 5 - คู่มือปฏิบัติงาน-การใช้ประโยชน์จากกลไกล
P. 5
กลไกสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติคืออะไร
กลไกสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติประกอบด้วยองค์กรหลักและองค์กรย่อยที่ตั้งขึ้นเพื่อ
ธ ารงความมุ่งหมายขององค์กรคือ การรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ตลอดจน
ส่งเสริมและสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพของบุคคลโดยไม่เลือกปฏิบัติเนื่องจาก
ความแตกตางในทาง เชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา โดยการก าหนดมาตรฐานสากลด้านสิทธิ
มนุษยชนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น อนุสัญญา ข้อมติ ปฏิญญา แนวปฏิบัติ ซึ่งเป็นที่มาของกฎหมาย
สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ รวมถึงมีหน้าที่ในการตรวจสอบ ติดตาม ประเมินสถานการณ์สิทธิ
มนุษยชนในประเทศต่าง ๆ การให้ค าแนะน าหรือข้อเสนอแนะต่อประเทศสมาชิก ตลอดจนจัดท า
รายงานที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่
ที่มา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ได้มีการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติขึ้นโดยมี
วัตถุประสงค์ส าคัญประการหนึ่งคือ การสร้างสันติภาพและความมั่นคงขึ้นใหม่ในโลก ป้องกันไม่ให้
เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงกว้างขวางดังเช่นช่วงสงครามที่ผ่านมาเพราะเห็นว่าเป็น
การน าไปสู่ความไม่มั่นคงและคุกคามต่อสันติภาพ ทั้งนี้ กฎบัตรสหประชาชาติก าหนดให้มี
องค์กรหลัก (main organs) ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิมนุษยชนที่ส าคัญ ประกอบด้วย
สมัชชาสหประชาชาติ (UN General Assembly - UNGA)
UNGA ประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิกสหประชาชาติทั้ง 193 ประเทศ เพื่อร่วมกัน
ปรึกษาหารือและตัดสินใจประเด็นต่าง ๆ ในรูปของข้อมติ (resolutions) โดยฉันทามติหรือการ
ลงคะแนนเสียง (voting) นอกจากนี้ UNGA ยังมีหน้าที่ศึกษาและจัดท าค าแนะน าเพื่อส่งเสริม
ความร่วมมือด้านต่าง ๆ ของประเทศสมาชิก เห็นชอบงบประมาณขององค์การ ก าหนดส่วนเฉลี่ย
ค่าบ ารุงของสมาชิก และเลือกตั้งสมาชิกองค์กรต่าง ๆ ของสหประชาชาติ
UNGA จะมีการประชุมสมัยสามัญทุกปี เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นไปจนถึงสัปดาห์ที่ 3
ของเดือนธันวาคม โดยจะมีการพิจารณารับรองข้อมติผ่านคณะกรรมการย่อยชุดต่าง ๆ ส าหรับเรื่อง
สิทธิมนุษยชนจะถูกพิจารณาโดยคณะกรรมการ 3 (สังคม มนุษยธรรมและวัฒนธรรม) และข้อมติของ
คณะกรรมการ 3 จะถูกเสนอไปยังที่ประชุม UNGA เพื่อพิจารณา ทั้งนี้ ข้อมติส่วนหนึ่งจะเป็นข้อมติ
ที่ได้รับการรับรองจากคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน (Human Rights Council) มาก่อนหน้าและ
เกี่ยวข้องกับรายงานของกลไกตามกฎบัตรสหประชาชาติและกลไกตามสนธิสัญญา ข้อมติสมัชชา
สหประชาชาติ (UNGA Resolution) จัดเป็น soft law กล่าวคือ เป็นข้อตกลง ข้อตัดสินใจ ท่าที
ค าแนะน าแก่ประเทศสมาชิก (ซึ่งสมาชิก UNGA ส่วนใหญ่หรือทั้งหมดเห็นชอบ) แต่จะไม่มีผลผูกพัน
ทางกฎหมาย อย่างไรก็ดี หลายฝ่ายเห็นว่าข้อมติของ UNGA มีพันธะทางจริยธรรมหรือการเมือง
หน้า ๕