Page 17 - คู่มือปฏิบัติงาน-การใช้ประโยชน์จากกลไกล
P. 17
ใช้เนื่องจากต้องการรัฐภาคียอมรับอ านาจอย่างน้อย 10 ประเทศ และในระดับคณะอนุกรรมการ
ได้แก่ Sub-Committee on Prevention of Torture and other Cruel, Inhuman or Degrading
Treatment or Punishment (SPT) ซึ่งตั้งขึ้นตามพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน
ในปี ค.ศ. 2002 มีหน้าที่ในการไปเยี่ยมสถานที่กักกัน (places of detention) ต่าง ๆ เพื่อป้องกัน
การทรมานและการปฏิบัติหรือลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมและที่ย่ ายีศักดิ์ศรี
ประเทศไทยยอมรับอ านาจของคณะกรรมการฯ CEDAW, CRC และ CRPR ในการ
พิจารณาเรื่องร้องเรียน (individual complaints procedures) และอ านาจของคณะกรรมการฯ
CAT (under Art. 20), CEDAW (under OP, Art. 8-9), CRC (under OPIC, Art. 13) และ
CRPD (under Art. 6-7) ในการไต่สวนกรณีมีการละเมิดสิทธิมนุษยชน (inquiry procedure)
การใช้ประโยชน์จากกลไกตามสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน
1. ใช้อ้างอิงหลักการ/แนวทาง/มาตรฐานในการตีความข้อบทของสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน
และแนวทางในการปฏิบัติตามพันธกรณีจาก General Comments
2. ศึกษาค าวินิจฉัยและรายงานต่าง ๆ เมื่อมีการตรวจสอบหรือไต่สวนการละเมิดสิทธิมนุษยชนเพื่อ
เป็นแนวทางในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชน
3. ติดตามการปฏิบัติตามพันธกรณีของประเทศไทยตามสนธิสัญญาที่เป็นภาคี โดยพิจารณาจาก
Concluding Observations และ Recommendations เมื่อคณะกรรมการฯ มีข้อคิดเห็นในการ
เสนอรายงานของประเทศไทยต่อสนธิสัญญานั้น ๆ
4. เพื่อจัดท ารายงานคู่ขนานหรือรายงานเงา (parallel or shadow reports) และเข้าร่วมในการ
เสนอรายงานของประเทศต่อ Treaty Bodies ในฐานะสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่จะให้ข้อมูล
ที่เป็นอิสระและเป็นกลางต่อกลไกฯ
5. ร่วมมือกับกลไกฯ ในเรื่องต่างๆ เช่น การให้ข้อมูลในการมาเยือนประเทศไทย เป็นกลไกเยียวยา
ในระดับประเทศเมื่อกลไกฯ วินิจฉัยข้อร้องเรียนว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศ เป็นต้น
ดูรายละเอียดบทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับกลไกตามสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน
ได้ที่
https://nhri.ohchr.org/EN/IHRS/TreatyBodies/Page%20Documents/The%20Role%20o
f%20National%20Human%20Rights%20Institutions%20in%20the%20UN%20Treat
%20Body%20Process.pdf
หน้า ๑๗