Page 340 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 340
282 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
กระท าความผิด หากโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความผิดของจ าเลยได้ ศาลจะยกฟ้อง นอกจากนั้น
รัฐธรรมนูญก าหนดให้รัฐมีหน้าที่คุ้มครองพยานในคดีอาญาให้ได้รับความปลอดภัย ตลอดจนผู้ที่มีความใกล้ชิด
กับพยาน เช่น พ่อแม่ สามี ภรรยาหรือบุตรของพยานให้ได้รับความปลอดภัยด้วย และก าหนดให้มีค่าตอบแทน
ตามสมควร เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540 ที่ได้บัญญัติรับรองสิทธิของบุคคลที่เป็นพยานในคดีอาญาไว้ 3 ประการคือ สิทธิที่จะได้รับ
การคุ้มครองความปลอดภัย สิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสม และสิทธิที่จะได้รับค่าตอบแทนที่จ าเป็นและ
สมควรจากรัฐ โดยมีส านักงานคุ้มครองพยาน กระทรวงยุติธรรมเป็นผู้ดูแล ในคดีอาญาที่ผู้เสียหายเป็นผู้สูงอายุ
กรณีที่ผู้เสียหายที่เป็นผู้สูงอายุอ้างตนเองเป็นพยานในชั้นสืบพยานกฎหมายไทยไม่มีมาตรการคุ้มครองผู้สูงอายุ
ที่เป็นพยานไว้เป็นกรณีพิเศษแต่ได้คุ้มครองผู้สูงอายุเช่นเดียวกับพยานในกรณีทั่วไป
กรณีผู้เสียหายที่เป็นผู้สูงอายุเป็นพยานในคดีอาญาสามารถยื่นค าร้องขอให้ใช้มาตรการทั่วไป
ในการคุ้มครองพยานได้ที่ส านักงานคุ้มครองพยาน กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรมหรือ
ส านักงานยุติธรรมจังหวัดทั่วประเทศ เมื่ออธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพมีค าสั่งให้ใช้มาตรการทั่วไป
ส านักงานคุ้มครองพยานจะก าหนดมาตรการการคุ้มครองพยานตามความเหมาะสมแก่สถานะภาพของพยาน
ลักษณะความร้ายแรงของคดี เช่น การจัดเจ้าหน้าที่คุ้มครอง การน าพยานไปอยู่ที่ปลอดภัย การย้ายที่อยู่
(2.2.4) พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระท าความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550
เมื่อมีการกระท าความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้น ซึ่งผู้กระท าความผิดและผู้เสียหายเป็น
บุคคลในครอบครัวเดียวกัน ส่งผลให้กฎหมายอาญาที่วัตถุประสงค์ที่จะลงโทษผู้กระท าความผิดมากกว่าการ
แก้ไขฟื้นฟูหรือปกป้องคุ้มครอง การใช้กฎหมายอาญามาบังคับใช้กับกรณีการกระท าความรุนแรงในครอบครัว
จึงไม่เหมาะสม เนื่องจากการใช้ความรุนแรงเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนเพราะผู้กระท าความผิดและ
ผู้เสียหายเป็นบุคคลที่มีความใกล้ชิดกันซึ่งเป็นลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากกรณีทั่วไป การมีกฎหมายมา
คุ้มครองกรณีการกระท าความรุนแรงในครอบครัวจึงเป็นวิธีที่เหมาะสม
หลักเกณฑ์ในการคุ้มครองผู้เสียหายที่เป็นผู้สูงอายุจากการกระท าความรุนแรงในครอบครัว
กล่าวคือผู้เสียหายที่เป็นผู้สูงอายุหรือบุคคลที่พบเห็นมีหน้าที่แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้พบเห็น
การกระท าด้วยความรุนแรงในครอบครัวหรือได้รับแจ้งแล้วให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอ านาจเข้าไปในเคหสถาน
หรือสถานที่เกิดเหตุ เพื่อสอบถามผู้กระท าความรุนแรงในครอบครัว รวมทั้งให้มีอ านาจจัดให้ผู้ถูกกระท าด้วย
ความรุนแรงในครอบครัวได้เข้ารับการรักษาและขอรับค าปรึกษาจากจิตแพทย์ นักจิตวิทยาและนักสังคม
สงเคราะห์
ทั้งนี้กรณีผู้ถูกกระท าความรุนแรงในครอบครัวประสงค์จะด าเนินคดีให้ผู้นั้นร้องทุกข์ตาม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่ถ้าผู้นั้นไม่อยู่ในวิสัยหรือโอกาสที่จะร้องทุกข์ได้ด้วยตนเองก็ให้
พนักงานเจ้าหน้าที่ร้องทุกข์แทนได้
นอกจากการคุ้มครองผู้สูงอายุจากการกระท าความรุนแรงในครอบครัวดังกล่าว ยังมี
หลักเกณฑ์การสอบปากค าผู้สูงอายุที่เป็นผู้ถูกกระท าความรุนแรงในครอบครัว เพื่อมีการคุ้มครองสิทธิและ
ช่วยเหลือผู้สูงอายุในกระบวนกรยุติธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ คือ ต้องจัดให้มีจิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักสังคม