Page 344 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 344
286 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
ซึ่งได้ก าหนดกรอบทิศทางและแนวทางการด าเนินงานของแผนปฏิบัติการซึ่งก าหนดหลักการทั่วไปในการถ่าย
โอนภารกิจรูปแบบการถ่ายโอนและหน้าที่การจัดระบบบริการสาธารณะระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น ซึ่งก าหนดให้เทศบาลเมืองพัทยาและองค์การบริการส่วนต าบลมีอ านาจหน้าที่ในการจัดท าบริการ
สาธารณะด้านการสงเคราะห์และพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส ทั้งนี้มีบทบัญญัติให้
องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอ านาจหน้าที่ในการสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา
และผู้ด้อยโอกาส ซึ่งเป็นการกล่าวถึงการสงเคราะห์และพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยรวมไว้กับกลุ่ม
ผู้ด้อยโอกาสอื่น ๆ ซึ่งเป็นภารกิจสงเคราะห์ผู้สูงอายุ อันได้แก่ สถานสงเคราะห์คนชรา เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
ศูนย์บริการทางสังคมผู้สูงอายุในชุมชน โดยถ่ายโอนจากรมประชาสงเคราะห์ (เดิม) ไปให้กับองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น
ในการคุ้มครองช่วยเหลือผู้สูงอายุในระดับชุมชนจะมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กร
ผู้รับผิดชอบหลักในการคุ้มครองผู้สูงอายุในชุมชน ซึ่งจะด าเนินการร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน
ในท้องถิ่นและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นผู้สนับสนุนด้านวิชาการ มีการส่งเสริม
ให้เกิดโครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน เพื่อเป็นกลไกในระดับชุมชนในการดูแลช่วยเหลือ คุ้มครอง
ผู้สูงอายุในชุมชนที่ขาดการดูแล ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามล าพัง ได้รับการดูแลที่ไม่ถูกต้อง ถูก
ละเมิด เพิกเฉย และยากจน โดยมีอาสาสมัครซึ่งเป็นคนในชุมชนที่ได้รับการฝึกอบรมทักษะเสริมสร้างทัศนคติ
ให้ความสามารถปฏิบัติหน้าที่ให้ความคุ้มครองสวัสดิภาพและพิทักษ์ผู้สูงอายุ เป็นมาตรการเชิงรุกโดยมุ่งให้การ
290
ดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุถึงตัวที่บ้าน
ซึ่งจากการก าหนดบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานรัฐที่จะให้ความคุ้มครองผู้เสียหายที่เป็นผู้สูงอายุ
ดังกล่าวเป็นบทบัญญัติที่กว้าง ไม่ชัดเจน คลุมเครือ อีกทั้งหน่วยงานรัฐยังไม่ให้ความส าคัญกับผู้สูงอายุ
เท่าที่ควร เนื่องจากการที่หน่วยงานหนึ่งจะด าเนินการใดเพื่อประโยชน์ของผู้สูงอายุโครงการหนึ่งจะต้องมีการ
ส่งเรื่องไปอีกหลายหน่วยงานและมีวิธีการที่ซับซ้อน ท าให้การคุ้มครองช่วยเหลือผู้สูงอายุเกิดความล่าช้าและไม่
มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร อีกทั้งการด าเนินงานของผู้สูงอายุ พบว่า อาสาสมัคร 1 คน จะดูแลผู้สูงอายุ 5-7 คน
และดูแลโดยเฉลี่ยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ถือเป็นการให้การดูแลที่น้อยมาก เนื่องจากอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุเป็นผู้
ที่มีบทบาทในการเข้าถึงข้อมูลของผู้เสียหายที่เป็นผู้สูงอายุที่อยู่อย่างโดดเดียวหรือติดเตียง ทั้งนี้แม้ว่า
อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุจะไม่ได้มีหน้าที่ในการรายงานเหตุการณ์การกระท าความผิดทางอาญาต่อผู้สูงอายุ แต่
อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุมีบทบาทหน้าที่ในการช่วยเหลือคุ้มครองผู้สูงอายุที่ขาดผู้ดูแล ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ถูก
ทอดทิ้งให้อยู่ตามล าพัง ได้รับการดูแลไม่ถูกต้อง ถูกละเลยเพิกเฉยและยากจน โดยสามารถเป็นผู้ประสานงาน
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มาช่วยเหลือผู้เสียหายที่เป็นผู้สูงอายุในคดีอาญาได้ และจากการศึกษายังพบอีกว่า
อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุไม่มีในชุมชนเมืองเนื่องจากเป็นกลไกที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือในระดับชุมชน
ท าให้ผู้สูงอายุในเมืองไม่ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง
290 จาก พ.ม.เดินหน้าโครงการน าร่อง “อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน”, โดย ไทยรัฐออนไลน์, 2560, สืบค้นจาก
http://www.thairath.co.th/content/320883.