Page 175 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 175

โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
                                                                    กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 117

                           (6.2) การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของกระทรวงที่เกี่ยวข้องให้เป็นที่ปรึกษาด้านการศึกษาทางสังคม

               แก่เจ้าหน้าที่ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมแก่ผู้สูงอายุในพื้นที่
                         (7) การส่งเสริมความคิดหรือทัศนคติเกี่ยวกับสังคมสูงอายุ เช่น
                           (7.1) แนวคิดการออกแบบเพื่อคนทุกคน (Universal design)
                           (7.2) สภาพแวดล้อมที่ไม่มีสิ่งกีดขวาง (Barrier free environment)

                           (7.3) การส ารวจแนวคิดหรือทัศนคติของผู้สูงอายุเกี่ยวกับมาตรการที่เกี่ยวข้อง
                           (7.4) การวิจัยเชิงนโยบายส าหรับการส่งเสริมแบบองค์รวมของมาตรการส าหรับสังคมสูงอายุ
                           (7.5) การเผยแพร่ขยาย ตัวแบบ “ความหลากหลายของลูกจ้างประจ าเต็มเวลา” (“a variety
               of regular full-time employees” model) ที่ตอบสนองต่อ “แผนของประเทศญี่ปุ่นในการมีส่วนร่วมอย่าง

               พลวัตรโดยพลเมืองทั้งหมด” (The Japan’s Plan for Dynamic Engagement of All Citizens”)

                     3.2.4 ผู้สูงอายุกับการคุ้มครองสิทธิในกระบวนการยุติธรรม


                     การคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในกระบวนการยุติธรรมของญี่ปุ่น อาจกล่าวได้ว่า ใช้หลักการประนีประนอม
               เพื่อให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเป็นไปอย่างราบรื่นไม่เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจและ
               สังคมโดยรวม ดังเช่น กฎหมาย EMA ให้มีการบังคับใช้แบบภาคบังคับ และในมาตรา 10 สถานประกอบการ

               ต้องเปิดโอกาสอย่างเท่าเทียมกันในการรับสมัครเข้าท างานและการรับเข้าท างาน โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติต่อ
               อายุ ซึ่งเป็นไปตามความเห็นที่จ าเป็นของกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ (MHLW) เพื่อให้
               คนงานสามารถแสดงความสามารถอย่างมีประสิทธิภาพ กลไกในการบังคับใช้กฎหมาย EMA จึงขึ้นอยู่กับ
               กระทรวงสาธารณสุข แรงงานและสวัสดิการ (MHLW) ในฐานะเป็นหน่วยงานที่ให้ค าแนะน า ชี้แนะ และ
               ข้อเสนอแนะแก่นายจ้างให้ปฏิบัติตามกฎหมาย (มาตรา 32) ในการก ากับดูแลดังกล่าว MHLW ได้จัดท า

               เอกสารเกี่ยวกับ หน้าที่ในความพยายามจัดท าหรือให้บริการในการจ้างงานผู้สูงอายุ และแนวปฏิบัติ (Duty to
               endeavor provisions and Guidelines) และก าหนดให้นายจ้างมีหน้าที่ที่ต้องท ารายงานเกี่ยวกับความ
               พยายามจัดท าหรือให้บริการในการจ้างงานผู้สูงอายุต่อส านักงานความมั่นคงในการจ้างงาน (The Public

               Employment Security Office) นอกจากนั้น กฎหมายความมั่นคงในการจ้างงาน (The Employment
               Security Act (ASA) มาตรา 5-5 ยังระบุไว้ชัดเจนว่า “หน้าที่ความพยายามพยายาม (Duty to endeavor)”
               ซึ่งนายจ้างสามารถใช้เหตุผลที่ก าหนดในการเลือกปฏิบัติต่อผู้สูงอายุได้ เป็นสิ่งที่ไม่ผิดกฎหมาย เนื่องจากไม่ใช่
               “หน้าที่ตามกฎหมาย (Legal duty to endeavor)”
                     ในส่วนของ แรงงานที่ไม่ได้การปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันเนื่องจากอายุในการรับเข้าท างาน สามารถ

               ด าเนินการขอความช่วยเหลือ (กล่าวคือ ค าแนะน า และการชี้แนะ) จากส านักงานแรงงานจังหวัด (The
               Prefectural Labor Bureau) ภายใต้กระบวนการของกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการแก้ไขปัญหาความ
               ขัดแย้งแรงงานที่เกี่ยวข้องกับส่วนบุคคล (The Act on Promoting the Resolution on Individual Labor-

               Related Disputes) (มาตรา 1 และ 4) เพื่อแก้ไขข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับตัวเขาได้
   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180