Page 171 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 171
โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 113
ปัจจุบัน ได้มีการปรับปรุงกฎหมาย 2 ฉบับได้แก่ กฎหมายว่าด้วยโอกาสในการจ้างงานอย่างเท่าเทียมกัน และ
กฎหมายการลางานเพื่อการดูแลครอบครัวและเด็ก (The Equal Employment Opportunity Law and
Child Care and Family Care Leave Act เพื่อให้นายจ้างและเพื่อนร่วมงานได้ก าหนดมาตรการป้องกันการ
ล่วงละเมิดสิทธิในการคุ้มครองเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การลาคลอด การลาเพื่อดูแลเด็ก โดยมีผลบังคับใช้ในเดือน
มกราคม 2017 เพื่อส่งเสริมให้ผู้หญิงยังคงการจ้างงานและรับภาระในการดูแลครอบครัวและเด็กได้ เป็นการ
สร้างความสมดุลระหว่างการท างานและการดูแลครอบครัวของผู้หญิง
นอกจากนั้นยังมี กฎหมายส่งเสริมผู้หญิงในการมีส่วนร่วมและความก้าวหน้าในสถานที่ท างาน
(the Act on Promotion of Women’s Participation and Advancement in the Workplace (Act
No. 64 of 2015)) ซึ่งมีผลบังคับใช้ในเดือนเมษายน 2016 ภายใต้กฎหมายนี้ ได้มีการก าหนดแผนปฏิบัติการ
ในระดับประเทศ ระดับท้องถิ่นทุกจังหวัดและทุกเทศบาล เพื่อเป็นเครื่องมือสนับสนุนการพัฒนา แผนปฏิบัติ
การทั่วไปแก่นายจ้าง (A general employer action plan development support tool) ในการยกระดับ
สถานภาพของลูกจ้างผู้หญิง ซึ่งรวมไปถึงนายจ้างในสถานประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง นอกจากนั้น
มีการให้ทุนอุดหนุนแก่นายจ้างผู้ทีประสบความส าเร็จในการสร้างแผนปฏิบัติการที่ใช้ได้จริง และให้ข้อมูล
เกี่ยวกับกิจกรรมของผู้หญิงและแผนปฏิบัติการของบริษัท โดยเก็บเป็นฐานข้อมูลการส่งเสริมลูกจ้างผู้หญิง
5.2 การส่งเสริมมาตรการตอบโต้ต่อคนท างานที่มีการจ้างงานไม่สม่ าเสมอ (Promotion of
countermeasures against irregularly employed workers)
เป็นมาตรการในการส่งเสริมให้มีการปรับปรุงการปฏิบัติต่อผู้ที่ต้องการมีงานท าอย่างถาวร
(Permanent employment) ให้สามารถเปลี่ยนแปลงสถานภาพเป็นลูกจ้างประจ า (regular employees)
หรือเลือกการจ้างงานไม่ประจ า (non-regular employment) ได้ โดยให้นายจ้างได้มีความพยายามในการ
ก าหนด “แผนการปรับปรุงการปฏิบัติและการสับเปลี่ยนลูกจ้างประจ า” (A regular employee conversion
and treatment improvement plan) เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ต้องการท างานและเพื่อการ
ปรับปรุงการปฏิบัติให้ดีขึ้นในอีก 5 ปีข้างหน้า
การด าเนินการมาตรการนี้ กระทรวง MHLW เป็นหน่วยงานหลักในการจัดการด าเนินงานใน
เดือนมกราคม 2015 โดยการจัดตั้ง “ศูนย์ปฏิบัติการสับเปลี่ยนลูกจ้างประจ า/การปรับปรุงการปฏิบัติ”
(Regular Employee Conversion/Treatment Improvement Headquarter”) ขึ้นมาในทุกส านักงาน
แรงงานระดับจังหวัด และมีการจัดท า แผนภูมิภาคในเดือนมีนาคม ปีเดียวกัน เพื่อส่งเสริมการสับเปลี่ยน
ลูกจ้างเต็มเวลาและการปฏิบัติต่อลูกจ้างไม่ประจ า รวมทั้งการแพร่ขยาย ตัวแบบ “ความหลากหลายของ
ลูกจ้างประจ าเต็มเวลา” (“A variety of regular full-time employees” model) ที่ตอบสนองต่อ “แผน
ของญี่ปุ่นเพื่อการมีส่วนร่วมอย่างพลวัตรโดยพลเมืองทั้งหมด” (The Japan’s Plan for Dynamic
Engagement of All Citizens”) ซึงเป็นนโยบายหลักของรัฐบาลที่มีการก าหนดขึ้นในเดือนมิถุนายน 2015 ใน
การสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการพัฒนาประเทศภายใต้สังคมสูงอายุระดับสุดยอด