Page 8 - รายงานสรุปผลการดำเนินโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการคุ้มครองการละเมิดสิทธิชุมชน สิทธิในที่ดิน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สำหรับเจ้าหน้าที่สำนักงาน กสม. ระหว่างวันที่ 19-23 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
P. 8
๖
Module 2 สิทธิในที่ดิน
หัวข้อวิชา : แนวคิดสิทธิในที่ดินและสิทธิในทรัพย์สินในมุมมองสิทธิชุมชน
การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กรณีรายงานการตรวจสอบการละเมิดสิทธิในที่ดิน
สรุปกรณีละเมิดสิทธิในที่ดิน และกฎหมายหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ระยะเวลา : จ านวน 3 ชั่วโมง ๓๐ นาที
วิทยากร : รศ.ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นางสาวศยามล ไกยูรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ขอบเขตเนื้อหา :
จุดมุ่งหมายและสาระส าคัญของรัฐธรรมนูญในการให้ความคุ้มครองสิทธิที่ดิน สิทธิในทรัพย์สิน
และสิทธิชุมชน ศึกษากรณีตัวอย่างการถูกละเมิดสิทธิ และแนวค าพิพากษาของศาลโดยอาศัยหลักการ
พื้นฐานของสิทธิบุคคล นิติบุคคล หรือชุมชน และแบ่งกลุ่มวิเคราะห์กรณีศึกษา เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของ
ปัญหา ผลกระทบต่อบุคคลหรือชุมชน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และวิธีการในการตรวจสอบข้อเท็จจริง
สาระส าคัญ :
1. เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในแง่สิทธิชุมชน
รากฐานของสิทธิในการจัดการ บ ารุงรักษา และใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมและ
ทรัพยากรธรรมชาติคือสิทธิขั้นพื้นฐานในรากฐานแห่งการด ารงชีพของบุคคลและชุมชน ทั้งนี้โดยต้องอยู่ใน
กรอบของความสมดุลและความยั่งยืนในการใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติเป็นส าคัญ
เช่น การเจรจาก าหนดพื้นที่จับสัตว์น้ าตามฤดูกาลโดยชุมชน โดยก าหนดปริมาณสัตว์น้ าที่สามารถจับได้โดย
ไม่กระทบต่อความสมบูรณ์ของธรรมชาติ และการใช้ประโยชน์ร่วมกับชุมชนในพื้นที่ รัฐธรรมนูญมิได้
ก าหนดเงื่อนไขในการจ ากัดสิทธิชุมชนไว้ ดังนั้นจึงไม่อาจตรากฎหมายจ ากัดสิทธิได้ เว้นแต่การตรากฎหมาย
เพื่อก าหนดวิธีการใช้สิทธิเท่านั้น
2. สิทธิของบุคคลและชุมชนตามรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2560
มาตรา 25
บุคคลหรือชุมชนย่อมสามารถใช้สิทธิหรือเสรีภาพได้ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
สิทธิเสรีภาพจะถูกจ ากัดสิทธิได้เมื่อรัฐธรรมนูญก าหนดเงื่อนไข และไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ศักดิ์ศรีความเป็น
มนุษย์ ตามสัดส่วนและสมควรแก่เหตุเท่านั้น และต้องก าหนดวิธีการโดยไม่จ ากัดสิทธิ
มาตรา 43
สิทธิของบุคคลและชุมชน หมายความรวมถึงสิทธิที่จะร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
หรือรัฐซึ่งมีหน้าที่ด าเนินการจัดการ บ ารุงรักษา ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและความ
หลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน รวมถึงสิทธิที่จะฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐซึ่งมีหน้าที่จัดให้
ประชาชนหรือชุมชนได้รับประโยชน์และหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายก าหนด
3. สิทธิร้องศาลรัฐธรรมนูญ
หลักการพิจารณาเรื่องร้องเรียนว่าถูกหน่วยงานของรัฐละเมิดสิทธิหรือไม่ ต้องพิจารณาว่า
สิทธิที่น ามาเรียกร้องนั้น ได้รับความคุ้มครองหรือไม่ โดยปกติพิจารณาจากหลักกฎหมายสากล ซึ่งบางกรณี
รัฐไทยยังไม่ลงนามเป็นภาคี กรณีนี้ให้ใช้หลักกฎหมายไทยในการพิจารณาก่อน และใช้หลักกฎหมายสากล
เป็นความมุ่งหมายของกฎหมายเพื่อสนับสนุนและสิ่งที่กระทบต่อผู้ร้องเรียน กระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็น